THE NATURAL OF REVENGE: ประวัติ Heinrich Hertz ผู้คิดค้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติ Heinrich Hertz ผู้คิดค้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า




ประวัติ Heinrich Hertz ผู้คิดค้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 
ประวัติ Heinrich Rudolf Hertz ที่มาของหน่วย ความถี่ บนโลกเรา


ภาพลูกคลื่นวิ่งไปมา ในหน้าจอ ออสซิโลสโคป คงเป็นสัญลักษณ์ ที่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แถมยังมีการเรียกหน่วยต่างๆ ออกมาให้เราจดจำไปใช้ในการเรียนการสอน ด้วย..


แต่รู้หรือไม่ ว่าที่มีของหน่วยความถี่ ที่เรียกว่า Hertz นั้น มาจากอะไร? หากไม่รู้ เรามีคำตอบให้ Hertz เป็นชื่อที่แต่งตั้งให้ เพื่อเป็นเกียรติ กับนักวิทยาศาสตร์ นามว่า  Heinrich Rudolf Hertz  นั่นเอง เอาล่ะ มารู้จักประวัติของ  Heinrich Rudolf Hertz  กัน

Heinrich Rudolf Hertz


ประวัติ Heinrich Rudolf Hertz

ชื่อ           : ไฮน์ริช  เฮิร์ตซ์ ( Heinrich Rudolf Hertz )
มีชีวิตในช่วง : 1857-1891
สัญชาติ      : เยอรมนี


Heinrich Rudolf Hertz  จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และรับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยคีล จากการค้นพบที่สำคัญของ แมกซ์เวลล์ ทำให้ Heinrich Rudolf Hertz  หันมาสนใจการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   การศึกษาของแมกซ์เวลล์พบว่า ถ้านำตัวนำมารับประจุไฟฟ้า หรือให้คายประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว มันจะต้องเกิดการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปด้วย  เพราะประจุที่ให้แก่ตัวนำนั้นจะไม่ขึ้นอยู่ในตัวนำตลอดไป แต่มันจะคายประจุออกมาเรื่อยจนกระทั่งเป็นกลางทางไฟฟ้า

การคายประจุแบบนี้จะเป็นการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมานั่นเอง Heinrich Rudolf Hertz คิดว่าหากนำสายตัวนำมาต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดจะทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปจนสุดปลายสาย ที่ไม่ต่อกลับเข้าวงจร กระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ต่อไปอีกหรือไม่   ในความคิดของแมกซ์เวลล์ กระแสไฟฟ้าจะแพร่กระจายเหมือนกันเสียงของระฆังที่ถูกตี   ส่วนความดังของเสียงจะขึ้นกับระยะทาง    


Heinrich Rudolf Hertz ได้ทำการทดลองนี้ซ้ำโดยใช้ขดลวด 2 ขด เป็นอุปกรณ์ ขวดที่ 1 ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้า และขดที่ 2 ทำหน้าที่รับสัญญาณ   ผลการทดลองของเขาเป็นไปตามทฤษฏีของแมกซ์เวลล์ทุกประการ  กล่าวคือ แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้    Heinrich Rudolf Hertz  ได้พัฒนาสายอากาศ(Antenna) สำหรับส่งสัญญาณหลายชนิด และได้ทดสอบคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัสดุหลายชนิด ภายหลังเขาจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

Heinrich Rudolf Hertz

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น