THE NATURAL OF REVENGE: Wiki กับ Wikipedia : เว็บไซต์คนละเรื่องเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Wiki กับ Wikipedia : เว็บไซต์คนละเรื่องเดียวกัน


Wiki กับ Wikipedia : เว็บไซต์คนละเรื่องเดียวกัน




คุณคงเคยใช้เว็บไซต์ google หาความหมายของศัพท์บางคำมาบ้างแล้ว แต่เคยค้นหาศัพท์จาก Wikipedia บ้างไหม? ช่วงหลังผู้เขียนเห็นเว็บไซต์นี้บ่อยมาก และสังเกตว่าก่อนหน้าไม่เคยเห็นมาก่อน ดังนั้นในตอนแรกจึงไม่สงสัยว่า Wikipedia คืออะไร 
ต่อมาเวลาต้องการนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาเขียนบทความ ต้องอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูล ทำให้ต้องศึกษาว่า Wikipedia เป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด เมื่อได้ศึกษาก็พบว่า เว็บไซต์นี้มีแนวคิดที่น่าสนใจทีเดียว

Wikipedia ก็คือ เอนไซโคพีเดีย หรือสารานุกรมบนเว็บ แต่จุดสำคัญของ Wikipedia คืออนุญาตให้คนทั่วไปสามารถเขียน หรือแก้ไขข้อความบน Wikipedia ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดูแลระบบ

ระบบนี้อาจทำให้สงสัยว่า แล้วใครจะบอกได้ว่าสิ่งที่ต่างคนต่างเข้ามาเขียน นั่นถูกหรือผิด แต่เว็บไซต์นี้คิดว่าทุกคนที่เป็นผู้อ่าน ควรมีสิทธิจะเขียนจนทำให้เป็นความรู้ที่ทุกคนร่วมกันกลั่นกรอง ดังนั้น ความน่าเชื่อถือจึงเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง

เพราะความเชื่อเกี่ยวกับความรู้ (knowledge) ในยุคนี้ ไม่ควรเป็นเพียงสิ่งที่ต่างคนต่างเขียนอีกต่อไปแล้ว แต่ควรเกิดจากความเห็นร่วมกันในสังคม (social construction of knowledge) ก็เป็นความรู้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เขียนแต่ละคนต้องรับผิดชอบที่จะไม่เขียนสิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิของผู้อื่น ส่วนผู้ดูแลระบบ Wikipedia เพียงแต่ตรวจสอบว่า งานที่เขียนไว้นั้นเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น

นอกจากเรื่อง Wikipedia แล้ว อยากเน้นเรื่องของ Wiki- ด้วย แต่ที่ต้องอธิบายเกี่ยวกับ Wikipedia ก่อน เพราะคนส่วนใหญ่นั้นรู้จัก Wikipedia แล้วเข้าใจว่า Wiki- กับ Wikipedia นั้นเหมือนกัน

แต่จริงๆ แล้วต่างกัน ...

Wiki เป็นภาษาฮาวาย แปลว่า "เร็ว" ผู้ที่เริ่มเรื่อง Wiki ชื่อ Ward Cunningham เมื่อประมาณปี ค.ศ.1995 จากความต้องการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลเรื่องการเขียนโปรแกรมหากันในกลุ่มของเขา โดยให้แต่ละคนสามารถแก้ไขข้อมูลของกันได้ และสื่อสารกันในเฉพาะกลุ่ม ไม่มีคนภายนอก เขาจึงพัฒนาเว็บ โปรแกรมขนาดเล็กขึ้นมา คล้ายเว็บบอร์ด (Webboard) แต่ต้องผ่านการ log in ก่อนเข้าไปเขียนข้อมูลถึงกัน หลังจากนั้น มีผู้นำมาพัฒนาต่อเป็นซอฟต์แวร์ จึงเป็นที่มาของ Wiki software 
Wiki software ใช้หลายภาษาในการเขียน เช่น Java, Perl, PHP, Python เป็นต้น วิธีการใช้คือ ลง Wiki software บนเซิร์ฟเวอร์ เหมือน web server ทั่วไป จากนั้นให้ผู้ใช้งานเข้ามาสร้าง account ของตัวเอง สร้าง space ที่ตัวเองต้องการทำเป็น community ผู้ใช้งานสามารถเชิญผู้ใช้อื่นเข้ามาร่วมในชุมชนของตนได้ นอกจากนี้ สามารถกำหนดสิทธิของผู้เข้ามาใช้ใน community ได้เอง โดยไม่ต้องรอผู้ดูแลระบบเข้ามาแก้สิทธิในการใช้เลย

สิ่งที่ Wiki software ให้สิทธิผู้ใช้มากกว่า webboard คือสามารถสร้าง community ได้เอง แล้วเชิญผู้ใช้อื่นมาร่วมในชุมชนของเขา โดยผู้สร้างมีสิทธิเต็มที่ในการกำหนดสิทธิของผู้ใช้อื่นใน community ของตัวเอง 
ปัจจุบันผู้ที่ต้องการใช้ Wiki software มีทางเลือกเพิ่มขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องลง
Wiki software ด้วยตัวเอง มี Wiki farm software เป็นผู้ให้บริการ ทำหน้าที่เป็น host server ให้ เราไม่จำเป็นต้องดูแลเรื่องซอฟท์แวร์ แต่ความยืดหยุ่นในการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ

ขณะนี้วงการศึกษาในประเทศอเมริกา มีการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบมาพัฒนาการเรียนการสอนเช่น Podcast, Blog, Game และ Simulation ต่างๆ และนำ Wiki มาใช้ด้วยในลักษณะ Wikipedia และ Wikibook โดยเฉพาะ Wikibook นั้น ครูอาจารย์สามารถให้นักเรียนเข้ามาร่วมเขียนงาน เป็นหนังสือเล่มเดียว ให้แต่ละคนเขียนคนละ 1 บาท แล้วนำมาร่วมกันอ่านและแก้ไขงานของกันและกัน เป็นการสร้างความร่วมมือในชั้นเรียน (Learning Collaboration) เสริมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่องานของตนเอง และต่อส่วนรวมในห้องเรียนด้วย

ที่สำคัญ ระหว่างการทำ Wikibook นั้น เราสามารถเปิดให้บุคคลภายนอกอ่านงานของเราได้ โดยอนุญาตให้เขาเข้ามาร่วมแก้ไขงานของเราด้วยหรือไม่ก็ได้

Wikipedia มีโปรแกรมเป็นภาษาไทยให้ใช้งานด้วย หากใครสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก link ดั่งตัวอย่าง...

Wikipedia

ภาษาอังกฤษ : 
http://en.wikipedia.org 

ภาษาไทย : http://th.wikipedia.org/wiki/

Wiki software

Java based : 
http://sourceforge.net/projects/friki

Perl based : http://twiki.org

PHP based : http://www.qwikiwiki.com

PHP & MySQL : http://www.mediawiki.org 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น