THE NATURAL OF REVENGE: เพิ่มเติมความรู้ พีระมิด

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพิ่มเติมความรู้ พีระมิด


พีระมิด

มีการประมาณว่า พีระมิดของฟาโรห์คูฟูนั้น มีขนาดใหญ่มาก จนสามารถบรรจุ มหาวิหาร เวสต์มินสเตอร์ มหาวิหาร เซนต์ปอล แห่งกรุงลอนดอน มหาวิหาร เซนต์ปีเตอร์ แห่งกรุงโรม รวมทั้งโบสถ์ สำคัญ ๆ ของเมือง ฟลอเรนซ์และมิลาน เอาไว้ภายในได้ ทั้งหมด...คิดดูสิว่า มันใหญ่แค่ไหน !!
ทว่าพีระมิดคูฟู ไม่ได้มีแค่ความใหญ่อย่างเดียว หากมันยังซ่อนการค้นพบ ทางคณิตศาสตร์ ของคนโบราณ ที่ทำให้คนยุคปัจจุบัน ถึงกับคิ้วขมวด ผูกกันเป็นปมอีกด้วย  ปีเตอร์ ทอมคินส์ ได้รวบรวมข้อมูล การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของพีระมิดแห่งคูฟู เอาไว้ในหนังสือชื่อ "ความลึกลับของพีระมิด" โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. ความยาวเส้นรอบวง ของฐานพีระมิด เมื่อหารด้วย เท่า ของความสูง จากฐานถึงยอด จะมีค่าเท่ากับค่าพาย (p) ซึ่งเท่ากับ 3.144 ค่าที่ได้นี้ คลาดเคลื่อนไปจาก ค่าที่ถูกต้อง ในปัจจุบันเพียงนิดเดียว ค่าที่ถูกต้องคือ 3.14159
2. ความยาวของเส้นรอบฐาน พีระมิดคูฟู เมื่อนับเป็น คิวบิท (ภายหลังพัฒนามาเป็น "นิ้ว") วัดได้ 365.24 ซึ่งเท่ากับจำนวนวัน ในหนึ่งปี
3. สองเท่าของความสูงพีระมิด เมื่อคูณด้วยเลข 100,000 จะได้ค่าใกล้เคียงกับ ความยาวของ ระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ คือ 93 ล้านไมล์ โดยประมาณ
4. น้ำหนักของพีระมิด เมื่อคูณด้วย 1,000,000,000,000,000 จะได้ค่าใกล้เคียงกับ น้ำหนักของโลกเรา โดยประมาณ
นอกจากค่าตัวเลข แล้วที่ตั้งของพีระมิดแห่งนี้ ยังแบ่งโลกออกเป็น ส่วนเท่า ๆ กันอีก หรือถ้าเราลากเส้นตรง ผ่ากึ่งกลางพีระมิดขึ้นไป จะแบ่งสามเหลี่ยม ของแม่น้ำไนล์ ออกเป็นสองส่วนเท่ากัน  นี่ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง ที่คนโบราณทำให้เราเกิด ความฉงนว่า พวกเขารู้ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ได้อย่างไรใช้วิธีการอย่างไร ในการวัด และเมื่อค้นพบแล้ว ทำไมถึงใช้พีระมิด ในการจดบันทึก หรือเพราะชาวอียิปต์โบราณ กลัวว่าความรู้ต่าง ๆ ทาง ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวกับโลกเรา จะสูญหายไป เนื่องจากภัยธรรมชาติ ถ้าบันทึกไว้ด้วยกระดาษ หรือสิ่งอื่น ๆ ก็ชำรุดง่าย เลยใช้วิธีสร้างพีระมิด และใช้มัน เป็นที่เก็บความรู้ เรื่องต่าง ๆ ที่เขาค้นพบเสียเลย....

พลังงานภายในพีระมิด
ผ่านมาหลายตอนพอสมควร... คราวนี้ก็มาถึง คิวของ เรื่องลึกลับ ที่เกิดขึ้นภายในพีระมิดกันบ้าง เราอยากเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง มานานแล้ว... ในอดีตที่ผ่านมา มีบรรดา ผู้ที่อยากรู้ อยากเห็น และอยากลอง ได้ขออนุญาต รัฐบาลอียิปต์ เข้าไปค้าง ในพีระมิด บางคน ก็สมหวัง(เจอดี) บางคนก็ผิดหวัง (โชคดี) คงขึ้นอยู่กับ ดวงของแต่ละคนด้วยมั้ง แต่บางคน แค่ยืนอยู่นอกพีระมิด ก็เจอดีเหมือน กัน
เรื่องแรก ที่จะนำมาเล่าให้ฟังกัน เป็นของ นโปเลียน โบนาปาร์ต กับ ภาพนิมิต ในมหาพีระมิด เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2341 พระเจ้านโปเลียนมหาราช ได้ทรงกรีฑาทัพ เข้าสู่อียิปต์ โดยทางเรือ ทัพนี้มีกำลังพล 36,000 คน และเรือ 330 ลำ การสู้กับมูราด เบย์ ผู้มีตำแหน่ง เป็นผู้ว่าการ ของจักรวรรดิ์ เตอรกีออตโตมาน ที่อเล็กซานเดรีย ในทะเลทราย อียิปต์ นโปเลียนเป็นฝ่าย กำชัยชนะไว้ได้ อย่างง่ายดาย ความจริงแล้ว ในการบุกอียิปต์ครั้งนี้ นโปเลียนตั้งใจ จะมาค้นคว้าความลับ ของพีระมิดด้วย  ดังนั้น เมื่อการศึกเสร็จเรียบร้อย นโปเลียนได้เสด็จไปยัง มหาพีระมิดแห่งคูฟู พร้อม คณะผู้ติดตาม แต่พอถึงห้องพระราชา พระองค์กลับเสด็จ เข้าไปเพียงลำพัง หลังจากที่ พระองค์เสด็จกลับออกมา มีเรื่องเล่าว่า คืนนั้น พระองค์ไม่อาจจะบรรทมลงได้ เพราะทรง ได้ยินเสียง ๆ หนึ่ง ดังมาจากทางมุมห้อง ที่บรรทม พระองค์ทรงคว้าเอาดาบขึ้นมา แล้วตะโกนถามว่า "ใคร?" แต่สิ่งที่พระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นก็คือ ภาพนิมิต เป็นแสงสีแดง สว่างโพลน ที่โชนออกมาจากมุมห้อง"ท่านเป็นใคร ?" พระองค์ตรัสถาม แสงดังกล่าวค่อย ๆ รวมตัว เป็นร่างของ ชายคนหนึ่ง "แล้วนโปเลียนหละ เป็นใคร" เสียงนั้นย้อนถาม แล้วพูดต่อว่า "ชัยชนะ ของท่าน ที่มีต่อดินแดนนี้ จะไม่ยั่งยืน และท่านก็มีเวลา เหลืออีกไม่นาน ที่จะสร้าง สันติภาพให้กับโลกนี้" เมื่อพูดเสร็จ ภาพนิมิตดังกล่าว ก็หายไปทันทีว่ากันว่า ภาพนิมิตดังกล่าว ยังคงมาปรากฏ ให้นโปเลียนเห็นบ่อย ๆ จนกระทั่ง นโปเลียนก็สิ้นพระชมน์ และบรรดา ผู้ที่คอยเฝ้าพระองค์เล่าว่า ภาพนิมิตดังกล่าว มาปรากฏให้เห็นอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้าย ตามที่นโปเลียนขอร้องด้วย



หลักการของพีระมิด
วัตถุรูปทรงพีระมิดนี้เป็นรูปทรงที่ต้องกล่าวว่า แฝงความพิสดารของการใช้งานเอาไว้อย่างมากมาย โดยคุณสมบัติสำคัญที่เกิดตามธรรมชาติของรูปทรงก็คือ
·    สามารถหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็กได้
·    สามารถจัดระเบียบหรือจัดการเรียงตัวของเส้นแรงแม่เหล็กให้เป็นระเบียบได้
·    สามารถเหนี่ยวนำพลังลมปราณให้มารวมตัวกันภายในรูปทรงและบริเวณใกล้เคียงได้ดีมาก
กล่าวคือเมื่อเส้นแรงแม่เหล็กพุ่งเข้ามาชนวัตถุรูปทรงพีระมิดแทนที่จะเคลื่อนทะลุผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งทั้งหมด กลับถูกลักษณะของรูปทรงหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ให้เคลื่อนเบี่ยงเบนไปจากเส้นทางเดิม เส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งเข้ามาส่วนใหญ่จะถูกบังคับให้เคลื่อนขึ้นไปยังบริเวณยอดแหลมของพีระมิด แล้วพุ่งออกไปตรงบริเวณยอดแหลมของพีระมิดนั้น โดยในขณะที่เส้นแรงเคลื่อนเข้าสู่พีระมิดก็จะถูกจัดเรียงให้เคลื่อนตัวอย่างเป็นระเบียบ ลักษณะการเคลื่อนตัวก็จะมีรูปลักษณ์ทั้งที่เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง และหมุนเป็นเกลียวแตกต่างกันไปตามแง่มุมและระยะความลึกภายในรูปทรงพีระมิดนั้น
การที่รูปทรงพีระมิดสามารถหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็ก จัดระเบียบการเคลื่อนที่ และเหนี่ยวนำลมปราณได้ดี ก็เพราะ รูปทรงพีระมิดเป็นรูปทรงที่ไม่มีจุดศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างกับรูปทรงกลมที่ภายในทรงกลมจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ ซึ่งเป็นจุดที่เมื่อวัดระยะจากขอบของรูปทรงจากทุก 360 องศาสามมิติ คือ ทั้งมิติด้านกว้าง ยาว ลึก เมื่อวัดระยะเข้ามาหาจุดศูนย์กลางแล้วจะมีระยะทางเท่ากันหมด ลักษณะของรูปทรงกลมเช่นนี้ ณ.จุดศูนย์กลาง พลังงานชนิดต่างๆสามารถมาหยุดรวมตัวกันได้ดีที่ สุด เพราะเป็นจุดศูนย์รวมแรงดึงดูดของรูปทรงและเป็นจุดศูนย์ถ่วงด้วย แต่รูปทรงพีระมิดไม่มีจุดเช่นนี้ที่จะมีก็คือแกนกลาง ซึ่งเป็นแกนที่เชื่อมระหว่างยอดแหลมกับจุดตัด กันของเส้นทแยงมุมที่ฐานของพีระมิด
แกนกลางนี้ เมื่อวัดระยะห่างระหว่างแกนกับขอบของรูปทรงแต่ละด้านแล้ว ระยะห่างจะมีค่ามากที่สุดเมื่อวัดที่ฐานของรูปทรง และจะมีค่าลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือศูนย์ที่ยอดแหลมของพีระมิด ด้วยลักษณะของรูปทรงเช่นนี้จะไม่เกิดจุดรวมพลังงาน แต่พลังงานจะเกิดการรวมตัวกันที่แกนกลางของรูปทรง ดังนั้น เมื่อเส้นแรงแม่เหล็กเคลื่อนเข้ามาในรูปทรงพีระมิด ก็จะถูกลักษณะลาดเอียงด้านหน้าตัดของพีระมิดหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ ถูกบีบให้เคลื่อนสู่แกนกลางแล้ว เคลื่อนขึ้นสู่ยอดแหลมของพีระมิด ถ้าเป็นพีระมิดที่ภายในรูปทรงกลวง เส้นแรงจะเข้ามารวมตัวกันเป็นแกนอย่างหลวมๆ เกิดแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก เพราะเส้นแรงส่วนใหญ่จะเคลื่อนไปตามบริเวณขอบของรูปทรงแล้วพุ่งขึ้นสู่ยอดแหลม แต่ถ้าเป็นรูปทรงพีระมิดที่ภายในทึบหรือตัน เส้นแรงที่เคลื่อนเข้ามารวมกันที่แกนกลางจะมีความหนาแน่นและเข้มข้นกว่าพีระมิดที่ภายในกลวง คือ ยิ่งเป็นพีระมิดที่ภายในทึบหรือตันมากเท่าใด เส้นแรงก็จะเข้ามารวมตัวที่แกนกลางมากกว่าเท่านั้น เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงที่เคลื่อนพุ่งขึ้นสู่ยอดแหลม เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่มีความแข็งแรงขึ้น การที่เส้นแรงเคลื่อนขึ้นสู่ยอดแหลมก็เพราะที่บริเวณยอดแหลมมีปริมาณเส้นแรงพุ่งเข้ามาน้อยกว่าบริเวณฐานพีระมิด แรงดันหรือความเข้มของเส้นแรงจึงมีน้อยกว่าที่บริเวณฐานและบริเวณที่สูงจากฐานขึ้นมา แรงดันของเส้นแรงที่สะสมตั้งแต่ที่ฐานของรูปทรงจึงมีมากกว่าที่ยอดแหลม จึงขับเคลื่อนให้เส้นแรงขึ้นไปสู่ยอดแหลม ทำให้ที่ยอดแหลมกลายเป็นทางออกของเส้นแรงที่พุ่งเข้ามาในพีระมิด ส่วนบริเวณแกนกลางของรูปทรง โดยเฉพาะพีระมิดรูปทรงทึบหรือตัน ซึ่งเป็นรูปทรงที่สามารถเกิดแกนพลังได้ดีนั้น เส้นแรงแม่เหล็กที่เคลื่อนเข้ามาจะเข้ามาหมุนเป็นเกลียวที่บริเวณแกนกลาง โดยหมุนเป็นเกลียวในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไปสู่ยอดแหลม เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กขึ้น การหมุนเป็นเกลียวของเส้นแรงแม่เหล็กบริเวณแกนกลางของรูปทรงพีระมิดนี้เองที่เป็นแรงดึงดูดให้กระแสลมปราณไหลเข้ามาสะสมอยู่ภายในพีระมิด รวมถึงเกิดการไหลเวียนของกระแสลมปราณด้วย ซึ่งทิศทางการไหลเวียนของเส้นแรงแม่เหล็กและลมปราณนี้สามารถที่จะบังคับได้ตามลักษณะการจัดวางพีระมิด
ด้วยคุณสมบัติของพีระมิดดังที่ได้กล่าวมา ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับรูปทรงพีระมิด ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากพอสมควรเกี่ยวกับความลับของรูปทรงพีระมิดต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ยากต่อการอธิบาย แต่เมื่อได้ทราบถึงคุณสมบัติของพีระมิดดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะสามารถอธิบายได้ เช่น มหาพีระมิดคีอ็อป ที่ เมืองกีซา ประเทศอียิปต์ พบว่าเมื่อมีสัตว์เข้ามาตายในมหาพีระมิด เช่น หนู เมื่อเข้ามาตายปรากฏว่าซากศพไม่เน่าเปื่อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมหาพีระมิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูป ทรงพีระมิดที่มีขนาดใหญ่มาก ด้วยเป็นวัตถุรูปทรงพีระมิดที่มีขนาดใหญ่ จึงสามารถหักเหเส้นแรงแม่เหล็กได้เป็นปริมาณมาก เส้นแรงแม่เหล็กโลกที่เคลื่อนเข้ามาชนกับมหาพีระมิดจึงถูกหักเหให้พุ่งขึ้นไปยังบริเวณยอดแหลมของพีระมิด แล้วพุ่งออกไปตรงบริเวณยอดแหลมสู่อวกาศ ทำให้ภายในมหาพีระมิด มีเส้นแรงแม่เหล็กเหลืออยู่น้อยมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ สสารวัตถุที่อยู่ภายในพีระมิดจึงไม่ถูกเส้นแรงแม่เหล็กรบกวนเหมือนกับสสารวัตถุที่อยู่ภายนอกพีระมิด ดังนั้นวัตถุที่อยู่ภายในมหาพีระมิดจึงมีอัตราการ เสื่อมสลายช้ากว่าวัตถุที่อยู่ภายนอกพีระมิดมาก
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ของรูปทรงพีระมิดที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชะลอการเสื่อมสลายของวัตถุธาตุต่างๆ ได้ ทดลองโดยวางเนื้อหมูดิบไว้ภายในพีระมิดจำลอง วัน พบว่าเนื้อหมูได้เหือดแห้งไปโดยไม่เน่าเปื่อยและสามารถนำมาปรุงอาหารได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากรูปทรงพีระมิดได้หักเหเส้นแรงแม่เหล็กไม่ให้รบกวนอะตอมและโมเลกุลของเนื้อหมู แล้วเนื้อหมูยังได้รับพลังลมปราณที่ถูกพีระมิดเหนี่ยวนำเข้ามาทำให้เนื้อหมูไม่เน่าเปื่อยอีกทั้งยังคงสภาพสามารถนำไปทำอาหารได้
อีกทั้งยังพบว่าพีระมิดสามารถทำสิ่งของบางชนิดที่เป็นของเก่าให้กลายเป็นของใหม่ได้ คือ การนำใบมีดโกนที่ถูกใช้แล้วเมื่อนำมาวางไว้ในพีระมิดจำลองพบว่ามีสิ่งมาลับใบมีดโกนให้คมขึ้นมาใหม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะโมเลกุลของโลหะที่นำมาทำใบมีดโกนนั้นเมื่อใช้งานไปมากๆโมเลกุลที่เรียงตัวกันอยู่อย่างเป็นระเบียบจะสูญเสียความเป็นระเบียบในการเรียงตัวไป ทำให้ใบมีดลดความคม เมื่อนำมาวางไว้ในพีระมิดจำลอง โมเลกุลของโลหะจะถูกเหนี่ยวนำให้จัดเรียงโมเลกุลให้เป็นระเบียบขึ้นใหม่ ทำให้ใบมีดกลับคมขึ้น ผู้สนใจนั่งสมาธิหลายคนได้ทดลองนั่งสมาธิภายในเต็นท์รูปทรงพีระมิดหลายครั้ง พบว่าพีระมิดช่วยให้เกิดสมาธิได้เร็วกว่าปกติ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสมองและจิตใจของผู้ทำสมาธิถูกรบกวนจากเส้นแรงแม่เหล็กน้อยลงทำให้จิตรวมตัวเกิดสมาธิได้ง่าย นอกเหนือจากปรากฏการณ์เกี่ยวกับพีระมิดที่ได้กล่าวมา ยังมีการทดสอบ ทดลองเกี่ยวกับพีระมิดอีกมากมายที่ไม่ได้นำมากล่าวถึง ซึ่งผลการทดลองที่ออกมามักจะเกิดผลในทางบวกกับสิ่งต่างๆที่ได้เข้าไปอยู่ในรูปทรงพีระมิด
 ปีรามิดล่องหน
ใครจะเชื่อว่าของใหญ่ๆ อย่าง "ปิรามิด" ที่เคยค้นพบไปแล้วเมื่อ 200 กว่าปีก่อน กลับสูญหายไปจากแผนที่ และกลับมาเป็นที่จดจำได้อีกครั้ง เมื่อนักโบราณคดีอียิปต์ค้นพบปิรามิดอายุร่วม 4 พันปีนี้ ฝังอยู่ในผืนทรายสำนักข่าวเอพีและเนชันแนลจีโอกราฟิก รายงานการค้นพบปิรามิดที่หายไป โดยระบุข้อมูลจาก ดร.ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) เลขาธิการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) และนักสำรวจในพื้นที่ของสมาคมเนชันแนลจีโอกราฟิก (National Geographic Society)       
       ปิรามิดที่ค้นพบอีกครั้งนี้ สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เมนคาฮอร์ (King Menkauhor) ซึ่งครองราชย์ได้เพียง 8 ปี ในช่วงกลางของยุค 2,400 ก่อนคริสตศักราช        ปิรามิดดังกล่าวเคยเป็นที่รู้จักในนาม "หมายเลข 29" (No.29) หรือ "ปิรามิดไร้หัว" (Headless Pyramid) ตามคำเรียกขานของ คาร์ล ริชาร์ด เลปซิอุส (Karl Richard Lepsius) นักโบราณคดีเยอรมัน ซึ่งตั้งชื่อนี้ขึ้น เมื่อปี 2385 เนื่องจากสัณฐานของสิ่งก่อสร้างที่เหลือเพียงฐาน แต่ต่อมาทะเลทรายค่อยๆ กลบโบราณสถานที่เขาค้นพบ จนหายไป จากนั้นก็ไม่มีใครได้พบปิรามิดแห่งนี้อีกเลย "หลังการค้นพบของเลปซิอุส ตำแหน่งของปิรามิดก็ได้หายไป โครงสร้างของปิรามิดไม่เคยเป็นที่รับรู้ สถานที่แห่งนี้ถูกผู้คนลืม จนกระทั่งเราเริ่มต้นค้นหาในพื้นที่นี้ซึ่งเป็นสันทรายที่อาจจะสูงถึง 7.6 เมตร เราได้เติมเต็มช่องว่างของปิรามิดที่หายไป" ฮาวาสส์กล่าวกับผู้สื่อข่าวซึ่งร่วมเดินทางไปสำรวจพื้นค้นพบในเมืองซัคคาราของอียิปต์ทั้งนี้เมืองซัคคารา เป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีฝังพระศพของคณะผู้ปกครองแห่งเมืองเมมฟิส (Memphis) เมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์โบราณ และอยู่ห่างไปทางตอนใต้ของกรุงไคโรเมืองหลวงปัจจุบันของอียิปต์ประมาณ 20 กิโลเมตร  ไม่มีอะไรในปิรามิดแห่งนี้ ที่บ่งบอกถึงฟาโรห์ผู้เป็นเจ้าของ ดังนั้นนักโบราณคดีแห่งอียิปต์จึงต้องนำร่องรอยหลายๆ ชิ้นมารวมกันเพื่อที่จะจำแนกปิรามิดแห่งนี้ นักโบราณคดีรุ่นก่อนมีความขัดแย้งในเรื่องระบุอายุของปิรามิด ซึ่งโดยปกติก็จะจัดให้ปิรามิดอยู่ใน "อาณาจักรยุคเก่า" (Old Kingdom) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง 2,575-2,150 ปีก่อนคริสตศักราชและ "อาณาจักรยุคกลาง" (Middle Kingdom) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง 1,975-1,640 ปีก่อนคริสตศักราช       หากแต่การค้นพบล่าสุดประเมินว่า ปิรามิดแห่งนี้ขาดลักษณะที่เป็นลวดลายเขาวงกต อันเป็นสัญลักษณ์ของวิหารในยุคกลาง นอกจากนี้ตามคำอธิบายของฮาวาสส์ที่เนชันแนลจีโอกราฟิกรายงานไว้ระบุว่านอกจากไม่มีงานศิลปะและร่องรอยจารึกดังกลาวแล้ว โครงสร้างของปิรามิดยังใช้หินแกรนิตแดงซึ่งเป็นลักษณะของปิรามิดในอาณาจักรยุคเก่าด้วย ภายในห้องโถงที่อยู่ใต้ดินยังมีฝาปิดโลงพระศพที่ทำขึ้นจากหินแกรนิตสีเทาซึ่งเป็นประเภทของหินที่นิยมใช้ในอาณาจักรยุคเก่า      อีกทั้งปิรามิดที่พบใหม่นี้ยังคล้ายคลึงกับปิรามิดที่อยู่ถัดไปซึ่งเป็นของ "เตติ" (Teti) ฟาโรห์องค์แรกในราชวงศ์ลำดับที่ 6 ของอียิปต์ที่คาดว่าปกครองอยู่ในช่วงปี 2345-2181 ก่อนคริสศักราช ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งว่าปิรามิดที่เพิ่งค้นพบอีกครั้งนี้มาจากราชวงศ์ลำดับที่ 5 ของอียิปต์ นอกจากนี้ปิรามิดข้างเคียงยังบ่งชี้ว่าปิรามิดแห่งนี้เป็นของฟาโรห์เมนคาฮอร์แม้ยังไม่มีการค้นพบสุสานของพระองค์      
"มีปิรามิดอีกมากมายที่ยังค้นไม่พบและปิรามิดแห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น" ฮาวาสส์กล่าว
       ด้วนักโบราณคดียังประกาศอีกว่าการค้นพบครั้งนี้เป็นเส้นทางใหม่ของถนนบูชาเทพพระเจ้า (sacred road) ซึ่งอยู่ในยุคปโตเลเมอิก (Ptolemaic period)ที่มีอายุราว 2000 ปีหลังยุคอาณาจักรเก่า การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองซัคคาราย       "ตลอดประวัติศาสตร์ทั้งหมดของอียิปต์ เมมฟิสและซัคคารามีความสำคัญอย่างยิ่ง ผมค้นสุสานในยุคราชวงศ์ลำดับที่ 26 ที่ซัคคาราซึ่งใช้สุสานของราชวงศ์ลำดับที่ 19 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่บูชาพระเจ้า ดังนั้นบุคคลสำคัญๆ จึงอยากให้มีพิธีฝังศพของตัวเองที่นี่" คำอธิบายของโอลา เอล เอกุยซี (Ola ElAguizy) ศาสตราจารย์ทางด้านภาษาอียิปต์โบราณจากมหาวิทยาลัยไคโร (Cairo University)นักโบราณคดีหวังว่า เส้นทางนี้จะนำไปสู่การนำการค้นพบที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแผนย้ายผู้ใช้แรงงานที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกับสุสานของฟาโรห์เมนคาฮอร์เพื่อที่จะได้ขยายไปสู่การค้นหาวิหารได้มากขึ้น       "เมื่อผมพูดว่าเราได้คนพบอนุสรณ์สถานของอียิปต์ราว 30% แล้ว ผมยึดเอาพื้นที่ซัคคาราเป็นตัวอย่างแรก ซัคคาราเป็นพื้นที่อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับเรามากที่จะขุดค้นหาโบราณสถานเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปิรามิดของอาณาจักรเก่า" ฮาวาสส์กล่าว.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น