THE NATURAL OF REVENGE: THE JUMPER

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

THE JUMPER






ล่องหน เทเลพอร์ต (Teleport)


คำว่าล่องหนนั้น ฟังดูอาจคุ้นหูหลายๆ คนที่ชอบอ่านนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์มาบ้าง.........โดยคำว่าล่องหนถูกบัญญัติศัพท์ครั้งแรกโดย ชาร์ลส์ ฟอร์ท ค.ศ. 1931

ฟอร์ทนั้นเชื่อว่าบนโลกนี้อาจมีพลังลึกลับชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายสสาร วัตถุ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตไปมาระหว่างสองจุดโดยไม่ต้องผ่านระยะทางตรงหว่างกลางทั้งยังบังคับได้จากระยะไกลด้วย ถ้าหากพลังงานนี้มีจริง เราก็สามารถอธิบายปริศนาเรื่องคนหายวับต่อหน้าเราต่อหน้าตาต่อเราได้ นอกจากนั้นเรายังมีคำอธิบายกลไกเบื้องหลังเหตุการณ์พิสดารอื่นๆ ด้วย

ใครนึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงเหล่าจั๊มเปอร์ในเรื่อง The Jumper นะครับตอนที่พวกนั้นวาร์ปในพริบตานั้นแหละใช่เลย....

กฎวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน “การล่องหนและเทเลพ็อต”  ไปยังที่ต่างๆ นั้นไม่สามารถเป็นไปได้ แต่เหตุการณ์ทำนองแบบนี้ดันเคยอุบติจริงบนโลกใบนี้!!

เอ่อ.....จากหลักฐานในประวัติศาสตร์หลายศตวรรษนั้นได้บันทึกไว้ว่า บางครั้งมนุษย์และวัตถุสามารถเดินทางไปไกลแสนไกลภายในพริบตา

เรื่องเล่าเก่าแก่ที่ปรากฏออกมาเป็นเรื่องของชาวสเปน ที่มีมานานกว่าสี่ศตวรรษ เล่าว่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1593 ทหารหนุ่มรายหนึ่งพลัดจากประเทศฟิลิปปินส์แล้วไปหลงอยู่ในเม็กซิโกซิตี้ (ระยะทางกว่า 15,000 กม.) ชุดเครื่องแบบที่เขาสวมใส่นั้นดูประหลาดสำหรับชาวเมืองมาก เขาถูกสอบสวนเขาบอกว่าก่อนที่จะโผล่มาที่นี้เขายืนรักษาการณ์อยู่ที่ทำ ทำการราชการจังหวัดในกรุงมนิลา เมืองหลวงฟิลิปปินส์ เขาบอกว่าผู้ว่าท่านนี้ถูกลอบสังหารส่วนเขาก็หลงมาที่เม็กซิโกได้ยังไงก็ไม่ทราบ หลายเดือนต่อมามีเรือจากฟิลิปปินส์ ได้ยินยันว่าข่าวลอบสังหารผู้ว่าเป็นเรื่องจริง และตรงกับรายละเอียดของทหารคนนั้นเล่าทุกประการ

เรื่องนี้ต่อมาได้รับอิทธิพลให้นักเขียนแนวลึกลับนาม เอ็ม. เค. เจสอัพ เอาไปเขียนในเวลาต่อมา


นอกจากนี้ยังมีหลายเรื่องที่เขียนเกี่ยวกับล่องหน โดยเวลเลสลีย์ ทิวเดอร์ โพล เขียนไว้ในหนังสือ The Silent Road (1962) ว่า “ในคืนที่ชุ่มโชกและพายุกระหน่ำในเดือนธันวาคม ปี 1952ผมพบตัวเองอยู่ที่สถานีรถไฟห่างจากบ้านของผมออกไปราวสองกิโลกว่า รถไฟจากลอนดอนมาช้ากว่ากำหนด รถประจำทางเพิ่งออกไป และแท็กซี่ก็ไม่มี ฝนตกหนักไม่ขาดสาย ขณะนั้นเป็นเวลา 17.55 น. ผมกำลังเตรียมตัวรอรับโทรศัพท์ทางไกลจากต่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยมาถึงตอนหกโมงเย็น ซ้ำร้ายโทรศัพท์สาธารณะที่สถานีดันเสียขึ้นมาอีก ผมนั่งอยู่ในห้องพักของผู้โดยสารด้วยความรู้สึกสิ้นหวังแบบไม่มีอะไรทำ ผมจึงเทียบเวลานาฬิกาข้อมือของผมกับนาฬิกาของสถานี เวลานั้นคือ 17.57 น. สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาผมไม่รู้ตัวเลย

ผมพบตัวเองยืนอยู่ตรงทางเดินในบ้าน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 20 นาทีจากสถานีรถไฟขณะนั้นนาฬิกากำลังตีเวลาหกโมงเย็น ไม่กี่นาทีต่อมาเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น หลังจากพูดคุยธุระเสร็จ ผมถึงตะหนักว่าได้เกิดเหตุการณ์พิลึกพิลั่นขึ้นเสียแล้ว หลังจากนั้นผมก็ประหลาดใจอีกเมื่อรองเท้าของผมแห้งสนิท ไม่มีคราบโคลนเปรอะเปื้อนเลย เสื้อผ้าไร้รอยเปียกชื้นหรือเลอะเทอะที่ตรงไหนสักจุดเดียว”


แฮร์รี ไพรซ์ นักศึกษาด้านจิตวิญญาณผู้โด่งดัง ได้บันทึกเรื่องราวน่าเหลือเชื่อมากมายลงใน Politergeist Over England (1945) ดังตัวอย่าง

“เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1871 นางกับพีได้ล่องหนจากบ้านของเธอที่ไฮร์บูรี(กรุงลอนดอน) มาปรากฏตัวอยู่บ้านหลังหนึ่งบนถนนแลมบ์ส คอนดูอิท ไกลออกไปประมาณ 5 กม. เธอหล่นมาตรงกลางวงเลยทีเดียวโดยมีเพียงชุดชั้นในปิดร่าง”


การล่องหนอันน่าอัศจรรย์กว่าได้เกิดขึ้นกับนักบุญแมรี่แห่งอะเกรดา แม้ว่าเธอไม่เคยย่างกรายออกจากสำนักแม่ชีในสเปนเลยแม้แต่ก้าวเดียว แต่มีหลักฐานอย่างเป็นทางการว่า แม่ชีแมรี่ได้เดินทางข้ามแอตแลนติกไปอเมริกามากกว่า 500 เที่ยว ในระหว่างปี 1620 ถึง 1631 เพื่อเทศน์สั่งสอนให้ชาวอินเดียนแดงเผ่าจูมาโนในนิวเม็กซิโกกลับใจมานับถือคริสต์ ซึ่งทีแรกฝ่ายศาสนาจักรคาทอลิคพยายามกดดันให้แมรี่ปฏิเสธเรื่องนี้

แต่แล้วในปี 1622 สาธุคุณอลอนโซ เดอ เบนาวีเดส ได้มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่นิวเม็กซิโก และเขียนจดหมายถึงโป๊ป เออร์บันที่ 8 และพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ของสเปน เพื่อไต่ถามว่าใครส่งมาที่นี่ก่อนเขา เนื่องจากชาวจูมาโน่อ้างว่าพวกเขารู้ในเรื่องคริสต์ศาสนามาจาก “หญิงในชุดน้ำเงิน” เป็นแม่ชีจากยุโรป และได้มอบไม้กางเขนลูหประคำ และถ้วยอาหารไว้ในพิธีมิซซาแก่พวกเขา เชื่อกันว่าลูกประคำเส้นดังกล่าวมาจากสำนักชีของแมรี่ที่อะเกรดา

จวบจนกระทั้งปี 1630 เมื่อสาธุคุณเบนาวิเดสกลับสเปนแล้วเขาได้ยินเรื่องของแม่ชีแมรี่กับความเชื่ออัศจรรย์ของเธอที่ว่า เธอได้เผยแพร่พระวจนะแก่ชาวอินเดียนแดงเผ่าจูมาโน เขาขออนุญาตเดินทางไปสอบสวนเธออย่างใกล้ชิด และได้รับรู้เรื่องราวการไปเยือนชนเผ่าอินเดียแดงอย่างพร้อมมูล รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวรูปร่างลักษณะและธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่านี้ แมรี่ได้เขียนประสบการณ์เหล่านี้ลงบันทึกประจำวัน แต่ภายหลังได้ตัดสินใจเผาทิ้งตามคำแนะนำของบาทหลวงท่านหนึ่ง


ในหน้าบันทึกมีบรรยายรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับการเดินทางของเธอรวมถึงภาพทิวทัศน์ของโลกในขณะกำลังหมุนไปรอบๆ ในหนังสือ Life of the Venerable Mary of Agreda ของ เจมส์ เอ. คาร์โก สรุปว่า “เรื่องแม่ชีแห่งอะเกรดาได้ไปเยือนอเมริกาหลายครั้งหลายหนโดยการล่องหนนั้น ได้รับการตรวจสอบยืนยันกับบันทึกการเดินทางของบรรดานักล่าอาณานิคมชาวสเปน นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ตลอดจนจารึกของชาวอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ ในประวัติศาสตร์ตะวันตกเฉียงติของเอเมริกาล้วนมีการบันทึกปรากฏการณ์ประหลาดลึกลับนี้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องโดดเด่นอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก”

สาธุคุณเบนาวิเดสได้ถ่ายทอดเรื่องเล่าอันเหลือเชื่อดังกล่าวออกมมาเป็นผลงานขายดีของสมัยนั้น พร้อมระบุว่าแม่ชีแมรี่ให้หลักฐานมากมายที่พิสูจน์ว่าได้ท่องไปในอเมริกา โดยมีนักบุญมิคาเอลและฟรานซิสคอยโอบอุ้มประคองลอยล่องไป จริงๆ แล้วตามที่ปรากฏในบันทึกซึ่งไม่ได้รับตีพิมพ์ แมรี่ไม่เคยยืนยันตรงๆ ว่าได้ล่องหนหายไปทั้งตัว ในสมัยเธอยังเยาว์ เธอรอดพ้นจากการจับกุมในโทษฐานประพฤติตัวเยี่ยงแม่มดอย่างหวุดหวิด ฝ่ายศาสนจักรมักตำหนิเธอสำหรับความสามารถเหาะเหินอันน่าทึ่ง(อย่าลืมว่าแม่ชีแมรี่ได้รับแต่งตั้งเป็นนักบุญซึ่งถือกันว่ามีความบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์อยู่ในระดับสูง) แมรี่เหนื่อยหน่ายในการอธิบายเธอเหมือนถูกบังคับให้ต้องเลือกใช้คำอย่างชาญฉลาด จนในที่สุดเธอก็ตอบ(เดา)เอาว่า ทูตสวรรค์มารับเธอ

สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนไปอีกก็คือว่า ขณะที่แมชีแมรี่ทำสมาธิอยู่ในห้องเพียงลำพัง บรรดาแม่ชีคนอื่นๆ มักบอกแขกที่แวะมาหาเธอว่า “แม่ชีไปหาพวกชนเผ่าอินเดียนแดง”

ฉากการเดินทางของแมรี่ด้วยวิธีเหาะเหินเดินอากาศซึ่งดูเหมือนฝันนั้นช่างคล้ายกับผู้มีอำนาจวิเศษที่สามารถลอยตัวได้อย่างไรอย่างนั้น การสอดคล้องกันระหว่างบันทึกการมาเยือนของแม่ชีกับภาพต่างๆ ของชนเผ่าอินเดียนแดงที่แมรี่บรรยายได้ราวกับมีตาทิพย์ฟังดูแล้วไม่อาจปฏิเสธเรื่องเหลือเชื่อนี้ไปได้ทั้งหมด บันทึกความทรงจำฉบับหนึ่งของแมรี่เต็มไปด้วยรายละเอียดที่อาจทำให้หลายคนที่ชอบเรื่องลึกลับเชื่อไปตามๆ กัน


บ่อยครั้งการล่องหนโดยไม่รู้ตัวนั้น อาจมีกรณีอื่นเช่นการจู่โจมจากผู้ที่มองไม่เห็น

ในคดีที่เรียกว่า “พูน่า” เรื่องนี้กล่าวถึงพอสมควร โดยแฮรี่ ไพรซ์ ลงบันทึกว่า มีการพบเห็นเด็กชายคนหนึ่งลอยขึ้นกลางอากาศและหายตัวไปโผล่ที่อื่น ในระหว่างปี 1928-1929 ไพรซ์และเพื่อนหญิงชื่อ เอช.คอห์น ช่วยกันรวบรวมเหตุการณ์นับร้อยๆ กรณี ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้


กรณีที่โด่งดังอีกเรื่องคือเดือนธันวาคม ปี 1761 ที่เมืองบริสตอล ลูกๆของ ริชาร์ด กิลล์ ต่างทนทุกข์เมื่อพวกเขาพบว่ากำลังตกเป็นเป้าของผู้มองไม่เห็น ที่พยายามก่อกวนโดยฉุดกระชาก ทุบตี ทุ่มโยน หยิก บีบคอ ตลอดจนทิ่มแทงด้วยเข็มมีอยู่หนหนึ่ง ชายหลายคนยังไม่อาจช่วยกันดึงร่างของพวกเด็กๆ ลงมาข้างล่างได้ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มีพยานเห็นด้วยหลายคน


เฮนรี่ เดอร์บัน ผู้เคร่งศาสนาได้บันทึกเรื่องราวพิสดารนี้ด้วย

ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน กันยายน 1762 ด็อบบี้ ลูกสาวคนเล็กของกิลส์ได้หายวับไปจากห้องครัวต่อหน้าต่อตาคนถึง 5 คน ไม่ว่าจะตามหาอย่างไรก็ไม่เจอ อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมากก็พบร่างของเธอสลบไสลอยู่ใต้เตียงซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของบ้าน ทั้งๆ ที่ประตูห้องลงกลอนอยู่

การล่องหนหายตัวมักเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวตามธรรมชาติ และไม่อาจต้านทานได้ แต่กระนั้นยังมีกรณีตัวอย่างคนที่สามารถล่องหนให้มันเกิดขึ้นได้ตามที่ต้องการ เช่นในโปรตุเกสปี 1655 ชายคนหนึ่งล่องหนจากเมืองเกาไปโปรตุเกส แต่ต่อมาเขาถูกเผาทั้งเป็นข้อหาต้องสงสัยว่าใช้เวทมนต์ คาถาของลัทธินอกรีต


ขอขอบคุณ www.atcloud.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น