THE NATURAL OF REVENGE: อาวุธชิ้นนึงจากเยอรมัน (ต่อ)

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

อาวุธชิ้นนึงจากเยอรมัน (ต่อ)



    ในปี ค.ศ. 1942 คามม์เลอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ออกแบบค่ายกักกันยิวทั้งที่เอาชวิตซ์ และค่ายอื่น ๆ ในวอซอร์ รวมทั้งห้องรมแก๊สที่สามารถสังหารยิวได้วันละ 10,000 - 60,000 คน และเตาเผาศพยิวที่ไร้วิญญาณจากห้องรมแก๊ส เนื่องจากคามม์เลอร์เป็นนายทหารอาวุโสและรับผิดชอบงานลับที่ขึ้นตรงกับฮิตเลอร์และ ฮิมม์เลอร์ ชื่อเสียงของเขาจึงไม่ค่อยปรากฏให้เป็นที่รู้จักของนักประวัติศาสตร์มากนัก งานสำคัญ ๆ ของคามม์เลอร์ได้แก่ การออกแบบและก่อสร้างโรงงานใต้ดินที่สามารถป้องกันการโจมตีทางอากาศ สำหรับผลิตเครื่องบิน จรวด และเครื่องยนต์เจ็ต, เขาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างห้องทดลองจรวดใต้ดินแห่งแรกของโลก, การออกแบบและก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ของเอสเอส และงานสำคัญของอาณาจักรไรช์ที่ 3 รวมทั้งการก่อสร้างถนนเพื่อให้กองทัพเยอรมันบุกตะลุยเข้าไปในรัสเซีย, ควบคุมการสร้างและค้นคว้าจรวด วี2 และขีปนาวุธข้ามทวีป เอ9/10, ควบคุมการยิงจรวด วี1 และ วี2 ติดลูกระเบิดไปยังเป้าหมายที่ลอนดอน, ควบคุมสั่งการและประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาวุธลับทั้งหมดกับทุก หน่วยงานของอาณาจักรไรช์ที่ 3


    ารทดสอบจานบินเครื่องต้นแบบครั้ง แรกเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 ตัวจานบินมีความกว้าง 40 ฟุต สร้างด้วยอลูมิเนียม สามารถยกตัวขึ้นจากพื้นสนามบิน 1 เมตร และบินไปได้ไกล 300 เมตร จานบินรุ่นล่าสุดมีความกว้าง 42 เมตร สามารถบินขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง 12,400 เมตร ภายในเวลา 3 นาที และมีความเร็วทางแนวนอน 2,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถเร่งความเร็วได้ถึง 4,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สายลับสหรัฐอเมริกาเพิ่งเห็นโฉมและได้ถ่ายรูปจานบินของเยอรมันเป็นครั้งแรกที่ปรากเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และหลังจากนั้นไม่กี่เดือน สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง ฮิตเลอร์ได้สั่งให้หน่วยเอสเอสทำลายพิมพ์เขียวและเครื่องต้นแบบจานบิน โครงการจานบินของเยอรมันก็ยุติลงพร้อมกับฮิตเลอร์ยิงตัวตาย กองทัพสหรัฐอเมริกาและรัสเซียได้จับเอาตัวนักวิทยาศาสตร์เยอรมันไปพัฒนา โครงการบินและอวกาศของตนเอง สำหรับโครงการสร้างขีปนาวุธนั้น คามม์เลอร์ได้ก่อสร้างโรงงานไว้ใต้ดินสามารถป้องกันการโจมตีทางอากาศ โดยใช้แรงงานทั้งหมดจากค่ายกักกันยิว นี่คืออุโมงค์ทางเข้าไปสู่โรงงานผลิตจรวด วี1 และ วี2 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น