THE NATURAL OF REVENGE: ตำนานฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ ''ตุตันคามุน''

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ตำนานฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ ''ตุตันคามุน''


ตำนานฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ ''ตุตันคามุน''

thairath
ตุตันคามุน ฟาโรห์อียิปต์ผู้โด่งดังเมื่อสิ้นพระชนม์มาแล้วกว่าสามพันปี พระองค์เป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ แห่งการค้นพบทางโบราณคดีในโลกปัจจุบัน สุสานอันเต็มไปด้วยเครื่องทองของมีค่าอลังการ มลังเมลืองของพระองค์ ในหุบผากษัตริย์ นั้น เป็นแรงบันดาลใจสูงสุดของการขุดค้นทางโบราณคดี ทั้งเป็นตัวจุดประกายความหลงใหลใฝ่ฝันในอารยธรรมอียิปต์ โบราณแก่คนทั้งโลก


ตุตันคามุนเป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 18 ยุคราชธานีใหม่ของอียิปต์ ครองบัลลังก์ ประมาณระหว่างปีที่ 1336-1327 ก่อน ค.ศ. เข้าใจว่าพระองค์เป็นโอรสของอเคนาเตน ฟาโรห์ผู้ปฏิวัติศาสนาจากการนับถือเทพหลายองค์ โดยมี อามุน-เร เป็นเทพสูงสุดนั้น  มานับถือเทพองค์เดียวคืออาเตน ผู้มีสัญลักษณ์ เป็นวงกลมดวงอาทิตย์ที่มีรัศมีเป็นสายยาว

ตุตันคามุนมิใช่โอรสที่เกิดจากเนเฟอร์ติตี ราชินีโฉมงามของอเคนาเตน เพราะราชินีผู้นี้ ดูจะมีแต่พระธิดาเท่านั้น พระมารดาของตุตันคามุนเป็นมเหสีรองที่ชื่อ คียา พระนามเดิมของตุตันคามุนคือ ตุตันคาเตน (แปลว่า รูปอันมีชีวิตแห่งเทพอาเตน) เนื่องจากประสูติในสมัยที่พระบิดา หันมานับถือเทพอาเตนแล้ว


ในวัยเยาว์ ตุตันคามุนทรงใช้ชีวิตที่เมืองอเคตาเตน (เทล เออลอมาร์นา ปัจจุบัน) เมืองหลวงใหม่ที่พระบิดาสร้างอุทิศแด่ เทพองค์ใหม่ ตุตันคาเตนขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์มาก คือในราว 9-10 ชันษา และต่อมาก็อภิเษกกับอังเคเซนปาอาเตน พระเชษฐภคินีร่วมพระบิดา ผู้เป็นพระธิดาของเนเฟอร์ติตี ไม่นานนักตุตันคาเตนก็ทรงย้ายเมืองหลวง กลับมายังเมมฟิส เมืองหลวงดั้งเดิม เปลี่ยนศาสนากลับมานับถือเทพอามุน-เร และเทพอื่นๆ ดังเดิม รวมทั้งเปลี่ยนพระนามของพระองค์เองและของพระมเหสีเป็น ตุตันคามุน และอังเคเซนปาอามุนตามลำดับ
เพื่อยืนยันการนับถือเทพอามุน ตุตันคามุนครองราชย์เพียงไม่กี่ปี ก็สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 19-20 ชันษา พระศพถูกทำเป็นมัมมี่แล้วเก็บไว้ในสุสาน ณ หุบผากษัตริย์พร้อมข้าวของที่พระองค์ จะนำไปใช้ได้ในโลกหลังความตาย และของสักการะบูชาอื่นๆที่แล้วล้วนไปด้วยทองคำ รวมแล้วกว่า 3,000 ชิ้น
ในต้นทศวรรษ 1900 อันเป็นยุคที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีมากที่สุดในอียิปต์ แต่เมื่อมีการค้นพบสุสานในหุบผากษัตริย์ของหลายๆ บุคคลที่อยู่ในยุคเดียวกัน มีโถคาโนปิค (โถบรรจุอวัยวะภายในที่นำออกมาระหว่างการทำศพเป็นมัมมี่) ของพระนางคียา พระมารดาของตุตันคามุน แท่นบูชาของราชินีติยี และของอื่นๆ ที่จารึกพระนามของอเมนโฮเทปที่ 3 บ้าง สเมนกาเรบ้าง ทั้งมีถ้วยเคลือบสีใบหนึ่งที่จารึกพระนามตุตันคามุน และนั่นก็คือครั้งแรกที่นักโบราณคดีรู้จักฟาโรห์พระนามนี้


อย่างไรก็ตาม ต่อๆมาก็มีผู้พบโบราณ วัตถุที่เกี่ยวข้องกับตุตันคามุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น แผ่นทองจารึกพระนามที่แผ่นหนึ่งมีภาพตุตันคามุนกำลังทรงธนู ซึ่งเออร์เนสท์ แฮโรลด์ โจนส์ พบในห้องห้องหนึ่งที่ตัดลึกเข้าไปในหน้าผาแห่งหนึ่งในปี 1908



ปี 1922 ณ บริเวณสุดท้ายที่ยังไม่เคยมีการขุดค้นใกล้ๆ สุสานของฟาโรห์ราเมซิสที่ 6 และในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 นั่นเอง ขณะเด็กที่คอยแจกน้ำให้คนงาน โกยทรายกอบขึ้นมาตั้งเหยือกนั่นเอง เขาก็พบขั้นบันไดที่ทอดลงไปในชั้นหิน อันเป็นลักษณะเฉพาะของสุสานในราชวงศ์ที่ 18 คาร์เตอร์โกยดินหินออกไปจากขั้นบันได จนถึงประตูชั้นนอกที่ยังคงมีตราผนึกอยู่ อันหมายความว่าสุสานยังไม่เคยถูกเปิดเลย นับแต่การฝังพระศพเมื่อหลายพันปีก่อน
ลอร์ดคาร์นาวอนบินด่วนจากอังกฤษมาร่วม ในการเปิดสุสาน แล้วคาร์เตอร์ก็สามารถเปิดประตูเข้าสู่ สุสานฟาโรห์ตุตันคามุน ที่ตระการตาไปด้วยข้าวของอันแล้ว ล้วนไปด้วยทองคำสุมแน่น โดยห้องชั้นในสุดมีเรือนทองคำ 4 ชั้นคลุมหีบศิลาที่บรรจุโลงทองคำอีก 3 ชั้นกว่าจะถึงมัมมี่พระศพฟาโรห์ที่มีหน้ากากทองคำ ฝังพลอยคลุมพระพักตร์อยู่อีกชั้นหนึ่ง


คาร์เตอร์ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางกายวิภาค มาตรวจมัมมี่ตุตันคามุนในปี 1925 ผลการตรวจพระศพได้ข้อสรุปว่า ตุตันคามุน สิ้นพระชนม์ระหว่างพระชนมายุ 18-22 ชันษา พระองค์สูงประมาณ 5 ฟุต 6 นิ้ว จากนั้นคาร์เตอร์ก็พันผ้าให้มัมมี่เสียใหม่ก่อนเชิญเสด็จกลับลงโลง

มัมมี่ตุตันคามุนถูกนำออกมาตรวจวิเคราะห์ อีก 2 ครั้งในปี 1968 และ 1978 ซึ่งผลที่พบเพิ่มเติมก็คือ เศษกระดูกแตก 2 ชิ้นในกะโหลกพระเศียร และพบว่ากระดูกพระอุระรวมทั้งซี่โครงด้านหน้าทั้งหมดหายไป ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าตุตันคามุนอาจสิ้นพระชนม์ด้วยการถูกตีเข้าที่ด้านหลังพระเศียร หรืออาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอันทำให้มีบาดแผลฉกรรจ์ทางด้านหน้าพระอุระ ช่างทำมัมมี่จึงเอากระดูกตรงนั้นออกไปเสีย


มัมมี่ฟาโรห์ผู้โด่งดังถูกตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อ 5 มกราคม 2005 นี้เอง โดยนําเครื่อง CT SCANNER ใส่รถบรรทุกไปจอดหน้าหุบผากษัตริย์ แล้วเชิญเสด็จตุตันคามุนออกมานอกสุสานอันนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3,300 ปี เพื่อเข้าเครื่องสแกนบนรถ (ครั้งแรก คาร์เตอร์เชิญเสด็จออกมาพร้อมโลงเพื่อผึ่งแดด โดยหวังว่าจะทําให้นํ้ามันยางละลาย)
ภาพจากการสแกนที่ได้มาถูกนํามาศึกษาวิเคราะห์ และสรุปผล โดยผู้เชี่ยวชาญ สารพัดแขนง ยืนยันว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 19 ชันษา แต่ไม่พบร่องรอยถูกทําร้ายที่พระเศียร เศษกระดูกแตกที่พบนั้น ปรากฏว่า เกิดขึ้นหลังสิ้นพระชนม์ แต่กลับพบรอยแตกในกระดูกพระเพลาซ้าย ซึ่งน่าจะเกิดก่อนสิ้นพระชนม์ เพราะมีนํ้ายาอาบศพซึมลึกอยู่ในนั้น แม้บาดแผลนี้จะไม่ถึงตาย แต่การติดเชื้อก็อาจทําให้สิ้นพระชนม์ได้


ส่วนซี่โครงด้านหน้าพระอุระที่หายไปนั้น นักวิชาการยังขบปัญหากันไม่แตก สรุปได้แต่ เพียงว่าไม่น่าจะมีบาดแผลแตกหักตรงนั้น และไม่มีริ้วรอยอื่นใดอย่างที่ควรจะเป็น จึงอาจเป็นไปได้ว่ากระดูกส่วนนี้หายไปสมัยคาร์เตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น