THE NATURAL OF REVENGE: การกลับมาของ "อเล็กเซย์" เมื่อราชวงศ์โรมานอฟได้คืนชีพ

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การกลับมาของ "อเล็กเซย์" เมื่อราชวงศ์โรมานอฟได้คืนชีพ




ในบรรดาราชวงศ์ต่างๆ "โรมานอฟ" เป็นราชวงศ์หนึ่งที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจของพระเจ้าซาร์, ความมั่งคั่งของราชวงศ์, เรื่องอื้อฉาวของราชสำนักกับรัสปูติน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการสังหารหมู่สมาชิกราชวงศ์ ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และการรอดชีวิตของสมาชิกราชวงศ์ ซึ่งเจ้าหญิงอนาสตาเซีย คือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างถึงบ่อยที่สุดว่าทรงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
แต่ล่าสุด "ไกรฤกษ์ นานา" นำเสนอข้อมูลใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนมีนาคมนี้ (2009) ถึงสมาชิกโรมานอฟที่รอดชีวิตจากการสังหารในครั้งนั้น แต่ไม่ใช่เจ้าหญิงอย่างที่เคยกล่าวอ้างกันมา หากเป็นเจ้าชายรัชทายาท มกุฎราชกุมาร "อเล็กเซย์" (Alexei Romanov)


มงกุฎไร้บังลังก์
พระองค์คือพระโอรสเพียงหนึ่งเดียวของ "พระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2" และ "ราชินีอเล็กซานดรา" ผู้เป็นความหวังในการสืบทอดราชสมบัติ แต่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 กับนักการเมือง กรรมกร ชาวนา และสมาชิกในราชวงศ์โรมานอฟด้วยกันเอง ตลอดจนภาวะตึงเครียดของสงครามโลกครั้งที่ 1

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้คือแรงกดดันที่ทำให้พระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 ต้องสละราชสมบัติ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) หากความยุ่งยากวุ่นวายทั้งหลายที่มีต่อพระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 และครอบครัวไม่ได้ยุติลงเท่านั้น

"ในระหว่างที่ราชวงศ์โรมานอฟโดนอุ้มไปนั้น ข่าวการปลงพระชนม์แกรนด์ดุ๊กไมเคิล พระอนุชาของพระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 ในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ชะตากรรมของพระราชวงศ์ที่เหลือ...รัฐบาลเฉพาะกาลในมอสโกจึงสอบถามไปยังสภาโซเวียตประจำแคว้นอูรัล...แต่รายงานต่างๆ ก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือ
"ต่อมาเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้นำรัฐบาลปฏิวัติ ก็ยิ่งทำให้การพิจารณาคดีและบทลงโทษของราชวงศ์โรมานอฟยืดเยื้อออกไปอีก"
ขณะนั้นมีข่าวว่าพวกรัสเซียขาวกำลังใกล้เข้ามาและคาดกันว่า เมืองเอกาเตรินเบิร์ก อาจจะแตกในไม่ช้า วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงส่งโทรเลขด่วนมายังรัฐบาลเฉพาะกาลให้รู้ว่า กลุ่มของตนไม่สามารถรอคำพิพากษาจากส่วนกลางต่อไปอีกได้ โชคร้ายสายโทรเลขถูกตัดขาดเสียอีก...

"สภาโซเวียตแห่งอูรัลจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อพิพากษาความผิดของราชวงศ์โรมานอฟในข้อหากบฏ และสร้างความล่มสลายให้แก่ประเทศชาติ ผ่านคำตัดสินให้ประหารชีวิตพระราชวงศ์ที่เหลือ"
การสังหารหมู่สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟและผู้ติดตามได้เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461)

 
โดยเหตุการณ์ในวันสังหารนั้นบันทึกคำให้การของนาย "ยาคอฟ ยูรอฟสกี" หัวหน้าตำรวจเชกากล่าวว่า

"ข้าพเจ้าปลุกนักโทษของเรา...ข้าพเจ้าแจ้งว่าต้องปลุกทุกคนขึ้น เพราะกำลังมีเหตุไม่สงบในเมือง...หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงนำพวกเขาไปยังห้องที่เตรียมไว้ใต้ตัวตึก โดยบอกว่าจะนำไปถ่ายภาพหมู่เป็นหลักฐานว่าทุกคนยังปลอดภัยดี เมื่อลงไปถึงห้องด้านล่าง ข้าพเจ้าแนะนำให้พวกเขายืนเรียงแถวชิดกำแพง ในขณะนั้นคาดว่าทุกคนยังไม่รู้ถึงภัยที่กำลังจะมาถึงตัว...
เมื่อทุกอย่างเข้าที่ ข้าพเจ้าจึงสั่งให้ตำรวจเข้ามา ทันใดนั้นซาร์นิโคลาสก็ปรี่เข้าขวางหน้าพระโอรส ข้าพเจ้าประกาศก้องว่า มีคนทั้งในและนอกประเทศพยายามที่จะลักพาตัวราชวงศ์โรมานอฟ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สภาโซเวียตลงมติให้ประหารชีวิตพวกท่านเสีย...ในนาทีนั้น ข้าพเจ้าก็ลั่นไกที่พระองค์ในระยะเกือบเผาขน..."

นอกจากนี้ระหว่างการเดินทางนั้น ฝนตกหนักทำให้รถติดหล่ม 2-3 ครั้ง ตำรวจจึงต้องขนย้ายศพลงจากรถ เพื่อให้น้ำหนักรถเบาขึ้นและให้สามารถเข็นขึ้นจากหล่มได้
ซึ่งนั่นคือโอกาสหลบหนี สำหรับผู้ที่รอดชีวิตสามารถหนีไปสถานีรถไฟชาร์ทาช เพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งผู้ที่รับคำสั่งในการขนย้ายมี 2 พี่น้องตระกูลสเตรโคติน ที่มีเมตตาจิตต่อสมาชิกราชวงศ์ตกยากเสมอ นี่คือจุดที่ 2 แห่งการรอดชีวิต


โดยในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) รัฐบาลรัสเซียออกคำแถลงการณ์ภายหลังการค้นพบมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์กับเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้สูญหายไปจากหลุมศพที่ฝังรวมกันอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับกระแสข่าวการรอดชีวิตของสมาชิกราชวงศ์โรมานอฟที่มีออกมาเป็นระยะๆ

ตุลาคม ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ที่เมืองอาสตราคาน นาย "วาสิลี ฟิลาตอฟ" ครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ได้เปิดเผยตัวเองต่อหน้าครอบครัวว่า เขาคือ "อเล็กเซย์ โรมานอฟ" มกุฎราชกุมารแห่งราชสำนักรัสเซียผู้รอดชีวิตจากคืนวันสังหาร ด้วยการช่วยเหลือของจากตำรวจ 2 นาย
หากคำบอกเล่าของนายวาสิลีเป็นจริง นั้นแสดงว่ามกุฎราชกุมารรัสเซียมีพระชนมายุ ถึง 84 ปี กระนั้นหรือ? แล้วช่วงเวลา 70 ปี ที่รอดชีวิตนั้นอเล็กเซย์หรือวาสิลีดำเนินชีวิตอย่างไร?

พี่น้องตระกูลสเตรโคตินซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกติดตามผู้สูญหาย...ได้นำมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์หลบหนีและไปฝากไว้กับครอบครัวฟิลาตอฟ ที่พวกเขารู้จักในเมืองชาดริงค์ ซึ่งอยู่ถัดออกไป...หัวหน้าครอบครัวผู้มีนามว่า "คเซโนฟอนต์ ฟิลาตอฟ" เคยมีบุตรชายคนหนึ่งแต่ได้เสียชีวิตไปด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์จึงได้สวมรอยเด็กคนนั้นอย่างปลอดภัย"


วาสิลีเติบโตด้วยการใช้ชีวิตแบบคนธรรมดา ด้วยการประกอบอาชีพเป็นช่างทำรองเท้า และครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับความรู้ความสามารถของเขากับคนรัสเซียในชนบททั่วไป ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการพูดภาษาต่างๆ (เยอรมัน, กรีก, ละติน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส ) ความรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และดนตรีคลาสสิคชั้นสูง นับว่าเหนือชั้นกว่าบุคคลทั่วไป ข้อมูลเหล่านี้ถูกเปิดเผยจากครอบครัวฟิลาตอฟ ภายหลังการเสียชีวิตของวิสิลี

หลายท่านคงคิดเหมือนกันว่า บทสรุปของหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ครั้งนี้ คงต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นหาและยืนยันความจริงกับข้อมูลใหม่ชุดนี้ มีการตรวจสอบนิติวิทยาศาสตร์ด้วยกัน 2 ครั้ง คือ
หนึ่ง คือ การตรวจดีเอ็นเอจากเลือดของบุตรและธิดาของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ ที่ครอบครัวอ้างว่าเป็นเขาคือ อเล็กเซย์ โรมานอฟ
อีกหนึ่งคือ การการตรวจดีเอ็นเอจากอวัยวะบางส่วน เช่น ผม ฟัน กระดูก ฯลฯ ของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ
ผลสรุป คือ สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในวงการนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งภายหลังการทดสอบของผู้เชี่ยวชาญชาวฟินแลนด์และรัสเซีย โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเลือดของบุตรและธิดาของวาสิลี ฟิลาตอฟ ในปี ค.ศ. 1996 แสดงผลว่าพวกเขาเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากราชวงศ์โรมานอฟจริง
แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นและเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง คือการที่ครอบครัวฟิลาตอฟร้องขอความเป็นธรรมไปยังศาลโลก ณ กรุงเฮกให้เข้าแทรกแซงในขั้นตอนการพิสูจน์ ในที่สุดรัฐบาลรัสเซียจึงอนุญาตในปี ค.ศ. 1997 ให้มีการตรวจดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนอวัยวะของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ ผู้วายชนม์ จากกระดูก เส้นผม ฟัน และเล็บ ตามระบบนิติเวชวิทยา รวมถึงการคำนวณส่วนประกอบของใบหน้า ตามอายุขัยในวัยต่างๆ ด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลปรากฏว่า วาสิลี ฟิลาตอฟ คือบุคคลเดียวกันกับมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ
ปริศนาที่เป็นเรื่องเล่าอย่างสม่ำเสมอในครอบครัวฟิลาตอฟ คือการที่วาสิลีเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ความสามารถพิเศษที่ติดตัวเขามาไม่สามารถปิดบังไว้ได้นาน เช่น ความจัดเจนในการพูดภาษาเยอรมัน กรีก ลโลวานิก ละติน อังกฤษ และฝรั่งเศส อย่างคล่องแคล่ว มีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดารรัสเซีย และการเมืองในยุโรปอย่างกว้างขวาง ดีกว่าคนรัสเซียชนบททั่วไป ตลอดจนความช่ำชองในการเล่นเปียโน และความรอบรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคของสังคมชั้นสูง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้ใกล้ชิดเขาจนตลอดชีวิต เขารู้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร ? บัดนี้คำตอบนั้นได้รับการชำระแล้ว

ขอบคุณ http://www.artsmen.net/ ครับบ


โอเล็ก ฟิลาตอฟ ตรวจเลือดเพื่อหาดีเอ็นเอ
เพื่อยืนยันว่าเป็นหลานของพระเจ้าซาร์ หรือไม่
เจ้าชายชาวนา

ครอบครัวฟิลาตอฟ นายวาสิลี ฟิลาตอฟ
(ที่ 2 จากขวา) คือผู้ที่อ้างว่าเป็นมกุฎราชกุมาร
รัสเซีย
วาสิลีเล่าให้ครอบครัวฟังถึงการรอดชีวิตของเขาว่า "ระหว่างขนย้ายผู้เคราะห์ร้าย...มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ ซึ่งหมดสติอยู่หลังรถพลันตื่นขึ้นจากเม็ดฝนที่โปรยลงบนใบหน้า ท่ามกลางร่างของพ่อแม่พี่น้องที่แน่นิ่งอยู่รอบข้าง เขาสลัดตัวออกจากรถบรรทุกแล้วคลานเข้าไปซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานเล็กๆ เมื่อท้องฟ้าสว่างขึ้นเขาก็คลานต่อไปตามทางรถไฟจนกระทั่งถึงสถานนีรถไฟชาร์ทาช

Ermakov tchekist ในปี 1928
ตรงสถานที่ที่เขาเผาศพราชวงศ์โรมานอฟ
อเล็กเซย์? วาสิลี?

ภาพวาดหลังการประหาร
สภาพของห้องสังหารนั้นเป็นห้องใต้ดินขนาด 220 ลูกบาศก์ฟุต ที่แออัดด้วยนักโทษ ที่ประกอบด้วยสมาชิกราชวงศ์โรมานอฟและผู้ติดตาม 11 คน กับเพชฌฆาต 12 นาย เมื่อรวมเข้ากับหมอกควันปืนที่ตลบอบอวล, ความรีบร้อนในการเคลื่อนย้ายศพ ทำให้ขาดการชันสูตรศพอย่างถี่ถ้วนคือ จุดแรกของโอกาสแห่งการรอดชีวิต ซึ่งยูรอฟสกียืนยันว่า ร่างผู้เคราะห์ร้าย 11 ศพ นั้นมีเพียง 9 ศพ ที่ถูกโยนลงในหลุม นั่นอาจแปลความได้ว่าศพผู้เสียชีวิตสูญหายระหว่างทางไป 2 ศพ หรือมีผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ไป 2 คน
ภาพวาดเหตุการณ์ขณะพระเจ้าซาร์ถูกประหาร
คืนวันสังหาร

ภาพถ่ายภายในห้องที่ราชวงศ์โรมานอฟโดนประหาร
"วันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงตัดสินใจจัดการบางอย่างกับครอบครัวของพระเจ้าซาร์ ซึ่งตกอยู่ในมือของพวกตนตามลำพัง โดยจะไม่รอคำสั่งจากมอสโกอีกต่อไป"

Alexei : The last Romanov
ภายหลังการปฏิวัติในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460 ) พระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 พระราชินีอเล็กซานดรา พระราชธิดาทั้ง 4 พระองค์ และมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ กับผู้ติดตามรวมทั้งสิ้น 11 คน ถูกควบคุมไว้ที่บ้านหลังหนึ่งในเมืองเอกาเตรินเบิร์ก ไซบีเรีย

Romanov family : จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง : Olga,
Tatiana, Maria, Aleksandra, Nicholas, Anastasia
and Alexei.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น