THE NATURAL OF REVENGE: ที่มาของการคาดการณ์แผ่นดินไหว โดยดูข้อมูลสถิติจากนอกโลก

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของการคาดการณ์แผ่นดินไหว โดยดูข้อมูลสถิติจากนอกโลก


ที่มาของการคาดการณ์แผ่นดินไหว โดยดูข้อมูลสถิติจากนอกโลก 


ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการใช้ข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงจากนอกโลกมาใช้คาดการณ์ภัยพิบัติในรูปแบบของแผ่นดินไหว ซึ่งเราจะเริ่มจากวิธีการที่ใช้กันในปัจจุบันจนถึงวิธีการใหม่ที่อาจจะเป็นแนวทางออกที่สามารถคาดการณ์แผ่นดินไหวได้ล่วงหน้าในระยะเวลายาวนานกว่าที่ทำได้ในปัจจุบัน การอธิบายในเรื่องนี้นั้นจะเน้นภาพรวมความเข้าใจสำหรับประชาชนทั่วไปซึ่งเพียงพอที่จะไปใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ส่วนนักวิจัยสามารถเจาะลึกในรายละเอียดที่ท่านสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นเรื่องที่ใหม่มาก คงจะเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายได้ครบทุกกลไกของสาเหตุเพราะระบบที่เราวิเคราะห์นั้นเป็นระบบเปิด ถ้าขาดตกบกพร่องประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ นอกจากนั้นบทความนี้เป็นบทความโดยภาพรวมทั้งโลกไมได้เฉพาะเจาะจงกับสถานการณ์ในประเทศไทยเท่านั้น

หลักฐานใต้พื้นโลก

สาเหตุของแผ่นดินไหวที่ได้กล่าวในตำราเรียนปัจจุบันนั้น บ่งบอกว่าแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจากเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งมีการสะสมพลัง ซึ่งอาจจะเป็นเวลานานถึงหลายพันปี และ มีการปล่อยพลังงานอย่างฉับพลัน http://vulcan.wr.usgs.gov/Glossary/Seismicity/what_causes_earthquakes.html แต่ทฤษฏีดังกล่าว ไม่สามารถนำมาคาดการณ์แผ่นดินไหวล่วงหน้าเป็นเวลานานเนื่องจากข้อมูลเตือนภัยล่วงหน้าที่อ้างอิงจากวิธีการนี้จะเน้นการหาข้อมูลจากภาคพื้นดินเป็นหลัก และสัญญาณเตือนภัยจากแผ่นดินไหวที่อ้างอิงจากทฤษฏีนี้นั้นเป็นการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงคลื่นที่เคลื่อนตัวตามผิวโลกในบริเวณใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งตรวจจับได้ในระยะเวลาอันสั้นหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ไม่เกินหนึ่งนาที articles.sfgate.com/2010-01-20/news/17829570_1_quake-warning-warning-system-early-warning และ seismicwarning.com/ (ถ้าใครพบวิธีการอื่นที่อ้างอิงทฤษฏีนี้ แต่ตรวจจับได้นานกว่านี้ก็ส่งข้อมูลมาได้ครับ) แม้จะเพียงพอในการหาที่หลบภัย แต่ถ้ามีวิธีอื่นที่แจ้งเตือนภัยหน่วยเตือนภัยให้ตระหนักถึงสถานการณ์แผ่นดินไหวล่วงหน้าได้นานกว่านี้ ก็จะมีการเตรียมการณ์ล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากมีผู้วิจัยค้นคว้าโดยหาหลักฐานใต้พื้นโลกเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วแต่ไม่สามารถ หาสิ่งบอกเหตุได้นานเกินกว่าหนึ่งนาทีได้ เราจึงต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมในเรื่องนี้

หลักฐานบนท้องฟ้า

โดยการมองออกไปในทางตรงกันข้ามคือ มองขึ้นไปบนท้องฟ้าหาสิ่งบอกเหตุชนิดอื่น ซึ่งได้มีผู้วิจัยค้นคว้าในด้านนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน และเห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนโดยเริ่มจาก เมฆ บริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่น

หรือ เมฆมีการสะท้อนแสงที่ผิดปกติก่อนเกิดเหตุประมาณสามสิบนาที อย่างที่เกิดขึ้นในประเทศจีนในปี 2008
เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าแผ่นดินไหวสามารถคาดการณ์โดยการดูการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือจากข้อมูลใต้พื้นดิน

หลักฐานบนชั้นบรรยากาศ Ionosphere

ซึ่งถ้าเรามองออกไปไกลขึ้นอีกจะพบการเปลี่ยนแปลงบนท้องฟ้าในระดับ Ionosphere ซึ่งอยู่สูงจากพื้นดินไปเกิน 85 กิโลเมตร
ซึ่งมีนักวิจัยค้นพบการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ Ionosphere อย่างฉับพลันประมาณ 1-2 วันก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ซึ่งค่านี้เป็นค่าเฉลี่ย  Chapter 2, Ionospheric Precursors of Earthquakes, Pulinets and Boyarchuk ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบริเวณชั้นบรรยากาศ Ionosphere เชื่อมโยงกับเป็นการเปลี่ยนแปลงของพลาสมานั้นเอง นอกจากนั้นแล้วในช่วงที่มีแผ่นดินไหวของมีการหดตัวของชั้นบรรยากาศ Ionosphere ในบริเวณนั้นด้วย (จากการศีกษาวิจัยของ Pulinets และ Boyarchuk) แม้ผู้แต่งหนังสือจะพยายามอธิบายถึงกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แต่เราคิดว่ามีอะไรมากกว่านั้นถ้าดูหลักฐานออกไปด้านนอกอีก
พลาสมานั้นเป็นสถานะของสสารที่มีประจุ ทั้งอนุภาคประจุบวก และ อิเล็คตรอน (ประจุลบ) ซึ่งถ้าเราต้องการหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของพลาสมานั้น เราต้องมองออกไปข้างนอกอีก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของอนุภาคที่มาจากอวกาศนั้นเอง ส่วนใหญ่เป็นอนุภาคที่มีประจุ ซึ่งมาจากรังสี คอสมิก (อนุภาคขนาดเล็ก) และอนุภาคที่ปลดปล่อยมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีทั้งสถานะเป็นพลาสมา (อนุภาคขนาดใหญ่) และรังสีคอสมิก
การเปลี่ยนแปลงของพลาสมานอกโลกนั้นสามารถตรวจจับได้จากดาวเทียมที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณอนุภาคประจุ ซึ่งถ้ามองเข้ามาในโลก จะใช้ดาวเทียมเช่น DEMETER  ซึ่งอ้างอิงจาก http://www.nat-hazards-earth-syst-sci.net/10/7/2010/nhess-10-7-2010.pdf  จากบทความดังกล่าวได้สรุปว่าพบความเปลีย่นแปลงบนชั้นบรรยากาศชัดเจนในกรณีก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาดเกิน 6.0 ริตเตอร์
นอกจากนั้นเรามาดูความแตกต่างของอุณหภูมิชั้นบรรยากาศระหว่างช่วงมีและไม่มีแผ่นดินไหวจากข้อมูลข้างล่างนี้เป็นต้น http://www.scielo.org.mx/scielo.php?pid=S0187-62362009000100003&script=sci_arttext

หลักฐานจากนอกโลกและดวงอาทิตย์

แต่ถ้าเรามองออกไปนอกโลกจะเน้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงประจุจากดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์เป็นหลักได้แก่ ACE, STEREO A และ STEREO B โดยดาวเทียม ACE เป็นดาวเทียมที่อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งโคจรอยู่ในตำแหน่ง L1 ซึ่งเป็นจุดสังเกตุการณ์วัดการเปลี่ยนแปลงของอนุภาคที่มีประจุโดยมีขนาดมากที่สุดจากดวงอาทิตย์ สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของพายุสุริยะได้ 30-60 นาทีก่อนจะกระทบโลก ส่วน ตำแหน่งของดาวเทียม STEREO A และ B นั้น จะอยู่ห่างจากโลกออกไปแม้จะมีแนวโคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับโลกก็ตาม ซึ่งดาวเทียมทั้งสองดวงนี้มีอุปกรณ์วัดแบบเดียวกับที่อยู่ในดาวเทียม ACE
ตำแหน่งดาวเทียม STEREO A และ B
ความหน่าแน่นประจุ และ ขนาดสนามแม่เหล็กวัดได้จากดาวเทียม ACE
ในช่วงที่พระอาทิตย์มีปฏิกริยาสูงจะปล่อยพลังงานอนุภาคขนาดใหญ่ออกมา ซึ่งถ้ามาในทิศทางของโลก โลกก็จะได้รับอนุภาคและ พลาสมามากเหล่านี้มากเป็นพิเศษในชั้นบรรยากาศ บวกกับการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็ก จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการแกว่งตัวนี้จึงมีความเชื่อมโยงกับการแกว่งตัวของชั้น Ionosphere และเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหว ซึ่งมีรายงานความสัมพันธ์เหล่านี้จากรายการด้านอวกาศเช่น http://science.nasa.gov/science-news/science-at-nasa/2010/27jul_spacequakes/ และ ยังผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกริยาดวงอาทิตย์แผ่นดินไหวเช่นจากที่นี่   http://ieeexplore.ieee.org/xpl/freeabs_all.jsp?arnumber=1303913 
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าบริเวณที่มีแผ่นดินไหวจะมีความแปรปรวนของพลาสมาบนชั้นบรรยากาศ และ การแปรปรวนในอวกาศ โดยที่ลางบอกเหตุนั้นมากจากข้างนอกโลกเข้ามาข้างในโลก ดังนั้นจึงมีความน่าจะเป็นสูงมากที่สาเหตุของแผ่นดินไหวนั้นมาจากนอกโลก โดยเฉพาะแผ่นดินไหวที่เกิดตื้นใกล้พี้นผิวโลกและมีขนาดเกิน 6 ริตเตอร์  

แต่ทำไมการเปลี่ยนแปลงพลาสมาถึงเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวได้?

ถ้าคิดตามหลักฟิสิกส์พื้นฐานแล้วพลังงานพลาสมาคงจะไม่มีพลังงานเพียงพอในรูปของมวลที่จะเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พลาสมามีคุณสมบัติพิเศษ ที่สสารในสถานะอื่นไม่มีนั้นคือเรื่องของสนามแม่เหล็ก การนำไฟฟ้า และ ความเชื่อมโยงกับแรงโน้มถ่วง ?
หนทางที่อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะต้องใช้ทฤษฏีของศาสตราจารย์ฟิสิกส์ชื่อ Fran De Aquino จากมหาวิทยาลัย Maranhao State ประเทศบราซิล ซึ่งท่านได้ทำการทดลองสสารในสถานพลาสมาในหลอดแก้ว ในสภาพความดันต่ำพบว่า (สภาพคล้ายชั้นบรรยากาศรอบนอกของโลก) เมื่อพลาสมานี้ถูกกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราเร่งของแรงโน้มถ่วงได้ ซี่งเขาได้นำวัตถุแขวนไว้เหนือหลอดแก้วที่มีพลาสมาอยู่ ซึ่งพบว่าวัตถุนั้นมีแรงโน้มถ่วงที่ลดลง เมื่อความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลงซึ่งเป็นแรงที่ไม่สามารถอธิบายได้ตามทฤษฏีสัมพันธภาพ แต่ทฤษฏีนี้ยังต้องการผู้ทดลองมายืนยันความถูกต้องอีกที การคำนวณทางฟิสิกส์นั้นอยู่ในบทความตีพิ่มพ์อันนี้สำหรับผู้ที่สนใจเจาะลืกในการคำนวณ  lanl.arxiv.org/abs/physics/0701091





สัญลักษณ์ในเวปของเขา
การเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วงโดยอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของพลาสมานี้สามารถนำมาอธิบายได้ว่าทำไมแผ่นดินไหวถึงเกิดในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของพลาสมาบนชั้นบรรยากาศ และการเปลี่ยนแปลงของลักษณะของเมฆ ดังนั้นการเกิดแผ่นดินไหวนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแรงที่สัมผัสกับพี้นผิวโลก แต่ทำได้โดยเหนี่ยวนำจากนอกโลกโดยการเปลี่ยนแปลงของพลาสมาบนชั้นบรรยากาศ ส่วนวิธีการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นที่สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราเร่งแรงโน้มถ่วง (อาจจะเชื่อมโยงกับเรื่องแผ่นดินไหวบ้างแต่ไม่มาก) ได้แก่การให้พลังงานสนามไฟฟ้าแรงสูง ดังที่ Townsend Brown ได้ทำการเริ่มค้นพบปรากฏการณ์นี้ระหว่างการหลอดแก้ว X-ray “Coolidge tube”  และการทดลองที่ต่อยอดจากนั้น ระหว่างปี 1920 ถึง 1930 และได้ทำการทดสอบยืนยันอีกครั้งในปี 2003 โดยหน่วยงานวิจัยทางทหารของกองทัพบกสหรัฐ arxiv.org/ftp/physics/papers/0211/0211001.pdf หรือ อีกวิธีที่เปลี่ยนแปลงอัตราเร่งแรงโน้มถ่วงได้ ซึ่งค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Eugene Podletnov ชาวรัสเซียโดยการหมุนสารตัวนำยิ่งยวดด้วยความเร็วสูง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จากที่นี่ ลิงค์นี้ และ arxiv.org/abs/cond-mat/9701074  
ดังนั้น ด้วยความเข้าใจในเบื้องต้นนี้ก็สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมแผ่นดินไหวถึงมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงจากนอกโลก ซึ่งยังเชื่อมโยงต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาพระอาทิตย์ ซึ่งในเวปของเราใช้เป็นเครื่องมือในการแจ้งเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับแผ่นดินไหว โดยเราจะดูปฏิกิริยาการระเบิดที่ดวงอาทิตย์เป็นหลัก และตรวจสอบทิศทางของการระเบิด ซึ่งการระเบิดควรจะมีการปล่อยอนุภาคขนาดใหญ่ ซึ่งเพียงพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก และ ความหนาแน่นประจุ ที่ดาวเทียม ACE http://ccmc.gsfc.nasa.gov/awareness/helio.html นอกจากนั้นแล้วยังสามารถสามารถตรวจจับความแปรปรวนของรังสีคอสมิก http://spaceweb.oulu.fi/projects/crs/ นอกจากเรื่องของแผ่นดินไหวแล้วปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์ก็ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพอากาศที่แปรปรวนบนโลกอีกด้วยซึ่งจะกล่าวถึงในครั้งต่อไป

สาเหตุอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของพลาสมาในชั้นบรรยากาศ 

นอกจากนั้นเรื่องของ พลาสมา แล้วเรายังคิดว่าแผ่นดินไหวอาจจะมีสาเหตุมาจากพลังงานอื่นๆ แต่ไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ เช่น ความเชิ่อมโยงระหว่างสนามแม่เหล็กนอกโลกกับในโลก neutrino พลังงานคลื่นแรงโน้มถ่วงจาก ดวงอาทิตย์ หรือ จาก Galactic superwave www.etheric.com/GalacticCenter/GRB.html นอกจากนั้นแล้ว superwave ยังส่งรังสีคอสมิกในปริมาณมากเข้ามาในระบบสุริยะอย่างฉับพลันอีกด้วย อย่างแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใน มหาสมุทรอินเดีย ที่ทำให้เกิดสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม คศ 2004  ในวันที่ 24 ธันวาม ก็เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ดวงอาทิตย์ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่มีใครคาดการณ์ได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้ แต่ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัวเป็นวิธีเดียวในขณะนี้สามารถคาดการณ์เหตุการณ์นี้ได้
ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัววันที่ 26 ธันวาคม 2004 - วันที่เกิดแผ่นดินไหว 9.3 ริตเตอร์ และ เกิดสึนามิขนาดใหญ่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย http://www.emsc-csem.org/Earthquake/earthquake.php?id=1974 
ภาพถ่ายเหตุการณ์ระเบิดที่ดวงอาทิตย์ในวันที่ 24 ธันวาคม จากดาวเทียม SOHO
เราจึงนำปรากฏการณ์นี้มาใช้ประโยชน์ในการคาดการณ์ภัยพิบัติ ส่วนทำไมดาวเรียงตัวถึงเชื่อมโยงกับภัยพิบัติยังไม่มีใครหาคำตอบที่ชัดเจนได้ แต่ในเบื้องต้นแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกริยาดวงอาทิตย์ ซึ่งเราจะนำเสนอบทความอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ในอนาคต
หวังว่าพอจะตอบคำถามได้วำทำไมเวปของเราถึงคาดการณ์แผ่นดินไหวโดยดูจากปฏิกริยาจากนอกโลก และจากปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัว เราได้ตั้งสมมติฐานและทำการพิสูจน์ ซึ่งเห็นผลไปในแนวทางนี้มาโดยตลอด อะไรที่ผิดพลาด ก็นำมาแก้ไข แต่เพือความแน่ใจเราจึงต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อผิดพลาดเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา 
วิธีการนี้เป็นวิธีที่ทุกคนนำไปใช้คาดการณ์ภัยพิบัติได้ด้วยตัวเอง และสามารถให้พิสูจน์ไปพร้อมๆกัน จะได้ทราบว่าภัยพิบัตินั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเป็นเหตุโดยบังเอิญ สามารถรู้ล่วงหน้าได้เสมอ อะไรที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ท่านก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที เพราะข้อมูลต่างๆทีใช้คาดการณ์ทั้งบนโลกและนอกโลกนั้น สามารถหาได้จากอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ว่าการคาดการณ์โดยวิธีนี้นั้นต้องอาศัยความเชื่อมโยงตั้งแต่บนโลกถึงนอกโลก ซึ่งต้องรวมองค์ความรู้จากหลายๆด้านเข้าด้วยกัน
สรุปจากตรวจจับแต่ละวิธีก็มีความแม่นยำแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งในที่นี้เราจะเน้นการคาดการณ์ในระยะยาวเป็นหลักซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนได้มากกว่าแบบอื่น เพราะกลไกความสัมพันธ์ทั้งหมดมีความซับซ้อน แต่จะทำให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์หรือเก็บสถิติได้นานที่สุด แต่สุดท้ายก็ต้องรอยืนยันความถูกต้องจากเครื่องมือวัดในช่วงเวลาระหว่างเกิดเหตุอีกทีหนึ่ง 

ขอขอบคุณ www.truth4thai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น