THE NATURAL OF REVENGE: ปรัชญาหน้ากระจกรถ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาหน้ากระจกรถ


ปรัชญาหน้ากระจกรถ



ปรัชญาหน้ากระจกรถ
วินทร์ เลียววาริณ (หนึ่งวันเดียวกัน)


ผมขับรถผ่านสี่แยกนั้นทุกวัน ทุกครั้งที่รถจอดรอสัญญาณไฟเขียว
ผมคิดถึงงานของผม
ผมคิดไม่ออกว่าจะขายสินค้าที่ผมรับผิดชอบอย่างไร บอกตรงๆ
สินค้าในสต็อคตัวที่ผมต้องขายนี้เป็นข้างพันธุ์ที่มีเม็ดไม่สวย
และมีสารฆ่าแมลงเจือปน ไม่น่าเชื่อว่าจะเป้นข้าวไทย
มันดูเหมือนข้าวที่ปลูกกลางทะเลทรายสะฮารามากกว่า

ผมบอกเจ้านาย "หาจุดขายไม่เจอเลย ไม่ได้คุณภาพ
ไม่มีอะไรที่ดีกว่าสินค้าคู่แข่งเลยสักจุดเดียว"
เจ้านายกล่าวเพียงว่า "ผมไม่สนใจ คุณต้องขายมันให้ได้ มิฉะนั้น..."
คำว่า 'มิฉะนั้น' ของเขาอาจหมายถึงการหางานใหม่ของผม
แม้ว่าผมทำงานดีมากี่ครั้งแล้วก็ตาม
ไม่มีใครจดจำความดีหลายครั้งของคุณได้เท่ากับความล้มเหลวเพียงครั้งเดียว
นี่เป็นสัจธรรมในโลกของผม



ความคิดของผมสะดุดลงเมื่อเห็นเด็กชายวัยไม่น่าจะเกินหกเจ็ดขวบถือแปรงฟองน้ำกับถึงพลาสติกใบเล็กตรงมาหาผม
เสื้อผ้ามอมแมมพอกับใบหน้า ผมโบกมือไล่ เด็กคนนั้นยกมือไหว้
และยืนริมหน้าต่างรถนิ่ง ผมนิ่ง เขาก็นิ่งราวกับกำลังทดสอบความอดทน
ผมเกลียดเด็กพวกนี้ คุณก็รู้มีเด็กแบบนี้เกือบทุกสี่แยก
ผมเชื่อว่าคุณก็คงจะเคยมีประสบการณ์กับเด็กพวกนี้สักครั้งหรือาองครั้ง
เปล่า! ผมไม่ได้ต่อต้านเด็กที่มารบเร้าขอเช็ดกระจกรถของผม

บางทีก็ยัดเยียดขาบพวงมาลัย บางครั้งก็ขายหนังสือพิมพ์ หรือผ้าสีขาว
ผมเชื่อว่าน่าจะมีเด็กแบบนี้ตามสี่แยกสักหลายพันคนในกรุงเทพฯ เป็นแน่
ปัญหาของผมคือทำอย่างไรไม่ให้เด็กทำให้กระจกรถของผมสกปรกไปกว่าเดิม
รถของผมยังใหม่

ครั้งหนึ่งผมตวาดไล่เด็กไปด้วยโทสะเมื่อเขาเช็ดรถของผมด้วยผ้าเก่าเขรอะ
ผมไขกระจกรถลงมาหยิบเหรียญบาทยื่นให้เขาเหรียญหนึ่ง
เขารับเหรียญนั้นไปแล้วยังยืนมองหน้าผมนิ่ง ผมเลิกคิ้วถาม "ไง? ไม่พอหรือ?"
เด็กว่า "น้า ขอสักสิบบาทเถอะ"
ไฟจราจรกำลังเปลี่ยนเป็นสีเขียว ผมหยิบเหรียญสิบบาทชูให้เขาเห็น
ยิ้ม และปล่อยเหรียญนั้นตกลงพื้นถนนขณะที่เคลื่อนรถของผมออกไป



ผมได้ยินเสียงเบรคจากรถที่ตามมา ได้ยินเสียงกระแทกกันดังโครม
แต่ผมไม่ได้หันกลับไปมอง



ผมขับรถผ่านสี่แยกในวันต่อมา งานอยู่ในหัวขณะที่รถติดเป็นแถวยาว
ยังคิดหาวิธีขายข้าวพันธุ์ 'สะฮารา' ของผมไม่ได้
เด็กหญิงวัยสิบกว่าขวบคนหนึ่งหน้าตามอมแมมสวมหมวกแก๊ปสีเขียวเดินมาหา
ผมทำสัญญาณว่าไม่ต้องการให้เธอเช็ดกระจกรถของผม เธอไม่สนใจ
อีกครั้งผมเลื่อนกระจกรถลง ยื่นเหรียญบาทให้เด็ก บอกว่า "เอานี่ไป
แล้วไม่ต้องเช็ด"

"น้าขอหนูสักสิบยี่สิบบาทเถอะ กำลังเดือดร้อน"
"เป็นเด็กเป็นเล็ก เดือนร้อนอะไรกันหนักหนา"
เด็กหญิงบอก "น้องหนูถูกรถชนเมื่อวาน โคม่าอยู่ที่โรงพยาบาล"
ผมสะดุ้ง นึกถึงเด็กชายที่ผมแกล้งเมื่อวาน
ผมยุ่งกับงานจนลืมเรื่องนี้ไปสนิท "ถูกรถชนที่ไหน?"
"ที่สี่แยกนี้แหละน้า"
"ใครชน?"
"รถคันหนึ่ง เบรคไม่ทัน แดงก้มลงเก็บตังค์บนพื้น เลยถูกชน"
ผมควักธนบัตรหนึ่งร้อยบาทให้เด็กหญิง แล่นรถออกไป


ในใจเต็มไปด้วยความคิดต่างๆ
ผมนอนไม่หลับทั้งคืน
ไม่อยากเชื่อเลยว่าเด็กชายคนหนึ่งบาดเจ็บสาหัสเพราะเงินสิบบาท
ที่สำคัญคือผมเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์นี้อย่างเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้
วันต่อมาผมยับรถผ่านไปที่แยกนั้นอีก แต่ไม่พบเด็กหญิงที่แจ้งข่าวคนนั้น
ผ่านไปอีกสองวัน ผมถามเด็กหญิงคนนั้น "น้องชายเธอเป็นยังไงแล้ว?"
"แดงตายแล้วค่ะน้า เพิ่งเผาเมื่อวานนี้เอง"

ใจผมสั่นหวิว ควักธนบัตรสองพันบาทยื่นให้เด็กหญิง
"เอาไปเป็นเงินทำบุญให้น้องเถอะ"
ผมนอนไม่หลับอีกหลายคืน ไม่เคยรู้สึกแย่อย่างนี้มาก่อน
ความผิดของผมแท้ๆ หลายวันต่อมาผมไม่พบเด็กหญิงคนนั้นอีกเลย



สอบถามจากเด็กคนอื่นก็ไม่มีใครทราบ เด็กชายคนหนึ่งชี้มือไปที่ซอยเล็กริมถนน
บอก "บ้านเขาอยู่ในซอยนั่นแหละน้า อยู่สุดซอย บ้านหลังคาสังกะสีทาสีเขียว"
ผมตัดสินใจตามไปที่บ้านของเด็กหญิงคนนั้น
ขณะที่เดินไปตามทางดินลูกรังในซอย
ผมไม่อยากเชื่อว่าหลังตึกระฟ้ามีสลัมซ่อนอยู่
ผมหาบ้านหลังคาสังกะสีทาสีเขียวไม่ยาก
ผมยืนหลบมุมที่หน้ากองโอ่งครู่หนึ่ง

+++

ขณะพยายามนึกหาคำพูดที่เหมาะสมเมื่อเจอเด็กหญิง พลันได้ยินเด็กหญิงคนนั้น
"เอ้า กินซะ ไม่ได้กินอย่างนี้มานานเท่าไหร่แล้วนี่"
เสียงเด็กชายคนหนึ่งว่า "อร่อยจังพี่"

ผมชะโงกหน้าออกไปดูทันที เป็นเด็กชายแดงที่ 'ถูกรถชนตายไปแล้ว'
คนนั้นนั่นเอง! คนตายคงไม่สามารถยิ้มและกินอาหารอย่างนี้!
เด็กสองคนนี้ไม่ได้ไปทำงานหลายวันเพราะเงินสองพันบาทของผม
เด็กหญิงว่า "ขอบคุณน้าคนนั้นมากเลยที่ให้ค่าทำบุญมาตั้งเยอะ"
"พี่ไปขอบคุณเขาทำไม เขาแกล้งแดงรู้ไหม"

"แต่เขาก็คงรู้สึกแย่ ไม่งั้นไม่ให้เงินมาตั้งเยอะ"


"พี่เก่งนะที่คิดออกมาได้ ทำให้เขารู้สึกผิด
แล้วยังได้เงินตั้งสองพัน"
ผมเดินถอยกลับออกมา หัวเราะหึๆ ในใจรู้สึกปรอดโปร่งอย่างบอกไม่ถูก
ผมน่าจะรู้ว่า เด็กพวกนี้มีสัญชาตญาณเอาตัวรอดสูงกว่าผมเสียอีก

ผมบอกที่ประชุมในวันต่อมา "มีทางเดียวที่จะขายข้าวของเราคือ
ทำโฆษณาให้คนดูรู้สึกแย่ แบบ Emotional Blackmail น่ะครับ
เสนอภาพชาวนาที่กำลังอดตาย ตายคาทุ่งเลย เอาแรงๆ สื่อให้คนดูรู้ว่า
ถ้าเขาไม่ซื้อข้าวของเรา ครอบครัวชาวนาที่มีเด็กเล็กเด็กน้อยอดตายแน่ๆ"
ผมได้ยินเสียงปรบมือในห้องประชุม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น