THE NATURAL OF REVENGE

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554


มนุษย์กับพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง



มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่น่าทึ่งเสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด โดยมีวิวัฒนาการที่ก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเป็นเครื่องพิสูจน์ อะไรที่เคยคิดว่าทำไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่มีทางเป็นจริง สุดท้ายมนุษย์ก็สามารถเอาชนะสิ่งเหล่านั้นจนได้ด้วยมันสมองที่ถูกพัฒนาจนได้เปรียบกว่าสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ 
เมื่อเสร็จสมบูรณ์ สะพานเขื่อนฮูเวอร์ซึ่งทอดตัวข้ามแม่น้ำโคโลราโด จะเป็นสะพานซุ้มโค้งยาวที่สุดในโลก เพิ่มความโดดเด่นให้เขื่อนฮูเวอร์ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ สะพานที่ไม่เหมือนใครนี้จะทอดตัวข้ามช่องเขาแบล็ค แคนยอน ที่ห่างจากเขื่อนฮูเวอร์ไปทางทิศใต้ราว 1,600 ฟุต เชื่อมต่อทางหลวง แอพโพรชไฮเวย์ของรัฐแอริโซนากับรัฐเนวาดา ซึ่งอยู่สูงกว่าแม่น้ำโคโลราโดราว 900 ฟุต

ทีมออกแบบต้องวางแผนและสร้างระบบหอคอยปั้นจั่นอันซับซ้อน เพื่อลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ซึ่งก็เป็นงานช้างในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังใช้ระบบรอกอันแสนจะซับซ้อนและอันตราย เพื่อนำส่วนต่าง ๆ ของสะพานมาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ปัญหาใหญ่ที่พวกเขาเผชิญระหว่างการก่อสร้างก็คือ กระแสลมแรงความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งพัดผ่านช่องเขามายังพื้นที่ก่อสร้าง อุปสรรคที่พวกเขาต้องผ่านมันไปให้ได้

ขณะที่สถิติสะพานที่ยาวที่สุดตกเป็นของสะพานสโตนคัตเตอร์สในฮ่องกง เมื่อเสร็จสมบูรณ์มันจะเป็นสะพานแขวนที่ทำลายสถิติโลก ด้วยช่วงสะพานหลักที่ยาวถึง 1,018 เมตร สะพานแห่งนี้จะทอดตัวข้ามทางเข้าสู่ช่องแคบแรมเบลอร์ในฮ่องกง และสร้างอยู่เหนือเส้นทางสัญจรทางน้ำที่จอแจที่สุดในโลก

นอกจากนั้นที่ตั้งของสะพานยังถูกพายุโซนร้อนและไต้ฝุ่นกระหน่ำเป็นประจำ ดังนั้นสะพานนี้จึงต้องออกแบบมาเพื่อให้สามารถรับมือกับสายลมรุนแรงเหล่านี้ได้ แนวคิดของโครงการนี้คือการสร้างสะพานแขวนที่มีระนาบแฝดลู่ลม แขวนอยู่กับหอคอยเดี่ยวสูง 295 เมตร 2 หอ หอสูงทั้งสองนี้จะมีฐานขนาด 24x18 เมตร และเรียวแหลมขึ้นไปสู่ยอดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เมตร และระนาบของสะพานจะสูงจากพื้นน้ำ 73.5 เมตร เหนือทางเข้าท่าเรือบรรทุกตู้คอนเทเนอร์ ทำให้เรือแล่นผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวก
ข้ามทวีปไปที่สหรัฐอเมริกา อาคารสถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนียแห่งใหม่ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนกันยายน 2005 ที่สวนโกลเดนเกท ปาร์ค อาคารแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะการออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ หลังคาเนินสูงต่ำของอาคารแห่งนี้ไม่เหมือนอาคารแห่งใดในโลก และเทคโนโลยีหลายอย่างที่ใช้ก็ไม่เคยมีใครลองหรือทดสอบมาก่อน ซึ่งรวมถึงตู้ปะการังลึกที่สุดเท่าที่เคยสร้างขึ้น 
ตู้เลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ จะเป็นที่อยู่ของฉลามและสัตว์น้ำลึกชนิดอื่น ๆ ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยมีข้อแม้ว่าตู้เหล่านี้รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของอาคารต้องป้องกันแผ่นดินไหวได้ และหลังคาขนาด 6.25 ไร่ ซึ่งปกคลุมด้วยพืชพื้นเมืองของแคลิฟอร์เนีย 1.7 ล้านต้น จะกำบังพื้นที่ใช้สอยสาธารณะ 370,000 ตารางฟุต

“หลังคามีชีวิต” นี้จะสะสมน้ำไว้ปีละ 7.5 ล้านลิตร ซึ่งจะถูกใช้เป็นน้ำทิ้ง อาคารสถาบันแห่งใหม่นี้จะสร้างด้วยวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างไม้ที่ได้จากป่าปลูกซึ่งมีความยั่งยืน และด้วยการออกแบบที่ท้าทายเช่นนี้ อาคารหลังนี้ก็กำลังโผล่ขึ้นมาจากส่วนฐานราก ขณะที่ทีมงานก็พยายามก่อสร้างให้ได้ตามกำหนดการ

อาคารผู้โดยสาร เดิมของสนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ในนิวยอร์ก อาจเป็นอาคารผู้โดยสารที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก สมัยที่สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1964 นั้น มันคือเครื่องหมายบ่งบอกการเริ่มต้นของยุค“เจ๊ทเซต” อันหมายถึงผู้ที่โดยสารเครื่องบินเพื่อความเพลิดเพลิน

วันนี้มันได้ถูกออกแบบใหม่เพื่อให้กลายเป็นอาคารผู้โดยสารที่มีประสิทธิภาพและใช้บริการได้รวดเร็วที่สุดในโลก เพื่อรองรับผู้โดยสารปีละ 20 ล้านคน ผ่านทาง 26 เกท ความท้าทายสำคัญประการหนึ่งในการออกแบบก็คือ อาคารหลังใหม่จะต้องไม่บดบังอาคารหลังเดิมอันเป็นประวัติศาสตร์ อาคารหลังใหม่จะต้องสร้างให้ต่ำ และทางเข้าทั้งหมดต้องอยู่รอบอาคารหลังเดิม รวมถึงระบบลำเลียงกระเป๋าใต้ดินชั้นเลิศด้วย

ต่อมาที่นิวยอร์กสถานีรถไฟเก่าแก่ที่ไม่อาจรองรับกับจำนวนผู้คนในวันนี้กำลังถูกสร้างขึ้นใหม่ ท่ามกลางอากาศร้อนระอุจากระเบิดชั้นหินใต้ดินด้วยวัตถุระเบิดแรงสูงและรถไฟที่ยังคงวิ่งผ่านสถานีแห่งนี้ตามปกติ สถานีรถไฟใต้ดินเซาธ์เฟอร์รี ในนครนิวยอร์ก ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1905 ในสมัยที่รถไฟใต้ดินมีขบวนสั้นกว่าสมัยนี้มาก ดังนั้นปัจจุบันชานชาลาที่นี่จึงรองรับรถไฟได้เพียง 5 ตู้ จากขบวนรถไฟสมัยใหม่ที่มี 10 ตู้ ผู้โดยสารในตู้หลังจะต้องเดินมาออกที่ตู้หน้า ทำให้เกิดความไม่สะดวกและล่าช้า 
นอกจากนั้นความโค้งของชานชาลายังทำให้ต้องใช้กลไก “อุดช่อง” เพื่อปิดช่องว่างระหว่างชานชาลากับประตูรถไฟ และการใช้ระบบรางเดี่ยวของสถานีแห่งนี้ก็จำกัดจำนวนรถไฟที่ระบบขนส่งของนิวยอร์กจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ใช้สูงสุด สภาพคอขวดที่สถานีเซาธ์ เฟอร์รีสร้างปัญหาให้ระบบรถไฟใต้ดินของ นิวยอร์กทั้งระบบ เวลานี้สถานีเซาธ์เฟอร์รีกำลังได้รับการสร้างใหม่และย้ายตำแหน่ง เพื่อรองรับรถไฟขนาด 10 ตู้ 2 ขบวน ด้วยชานชาลาที่ตรง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอุดช่อง

ปิดท้ายกันด้วยโครงการเจาะอุโมงค์เทือกเขาฮาลลานด์ซัส โครงการเจาะอุโมงค์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 1988
 เมื่อรัฐสภาสวีเดนตัดสินใจว่าทางรถไฟความเร็วสูงเลียบชายฝั่งตะวันตก ซึ่งต้องหยุดชะงักขณะตัดผ่านเทือกเขาฮาลลานด์ซัสนั้นจะต้องได้รับการแก้ไข สำหรับสภาพคอขวดที่เทือกเขาแห่งนี้ อุโมงค์รางคู่น่าจะเป็นทางออกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แต่โครงการนี้กลับกลายเป็นฝันร้ายทางวิศวกรรม งานขุดอุโมงค์ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1992 ถูกคาดการณ์ว่าจะดำเนินการไปอย่างราบรื่น แต่ทันทีที่เริ่มต้น บรรดาวิศวกรก็ต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่ยากลำบากที่สุด หินที่นั่นเปียกแฉะ อุโมงค์น้ำท่วม-แม่น้ำและห้วยเริ่มแห้งขอด และทำท่าว่าจะเกิดความหายนะต่อระบบนิเวศ ดังนั้นอุโมงค์จึงต้องถูกปิดตายและทิ้งไว้ หลังจากความพยายามอีกหลายครั้งที่จะเริ่มโครงการนี้ใหม่ มันก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2006 อันเป็นความพยายามครั้งที่สาม ที่จะเจาะผ่านเทือกเขาฮาลลานด์ซัส 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น